Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.มาลินี คุ้มสุภา-
dc.contributor.authorวนัสนันท์ ปินคำen_US
dc.date.accessioned2020-08-01T07:28:02Z-
dc.date.available2020-08-01T07:28:02Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69237-
dc.description.abstractThis study has 3 objectives: 1. Examine violation against rights of alien labors in Mueang District, Mae Hong Son Province 2. Examine barriers obstructing alien labors from receiving profits in accordance with labor rights and 3. Suggest appropriate measures to prevent and solve the problem of violation against rights of alien labors. The information used in this study was obtained from researches, documents, policies, textbooks, announcements, articles, and news from universities and relevant government agencies. Importantly, the data was collected from the field based on determined framework by conducting interview on 3 target groups, including alien labors, employees and business owners, and officers related to alien labors, totally 28 persons, and observation during field study. The research discovered violations against rights of alien labors, for example: 1. Compensation: Alien labors in Mueang District, Mae Hong Son Province receive wage 10 – 20% lower than Thai labors depending on type of business. 2. Welfare: Some alien labors working at small workplaces, such as working as housekeeper, work for more than 8 hours a day without overtime pay and benefit. Moreover, some workplaces put workers at risk of infection without providing protective equipment, such as construction, and janitor in the hospital. 3. Work permit: It was found that registration fee was too expensive. However, in Mueang District, Mae Hong Son Province, there was no case from observation that alien labors’ work permit was seized by their employees to prevent their escape. 4. Violence due to Thai nationalism: In the case of Mueang District, Mae Hong Son Province, it was found that most alien labors were able to work and live with Thais. There was no conflict since Mae Hong Son people and alien labors have similar culture and language. Thai government’s mechanisms and policies related to alien labors comply with human rights and labor rights. The responders, who were officers related to alien labors, and alien labors agreed that the alien labor protection law is generally good policy. However, it was not practical. Alien labors are not able to access their rights truly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานต่างด้าว ในอำเภอเมือง แม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeThe Violation of Migrant Workers Rights in Mueang Mae Hong Son Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาถึงลักษณะการถูกละเมิดสิทธิที่แรงงานต่างด้าวประสบอยู่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อศึกษาอุปสรรคขัดขวางในการที่แรงงานต่างด้าวจะได้รับผลประโยชน์ตามสิทธิแรงงาน และ 3. เพื่อศึกษาการนำมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานต่างด้าว ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการศึกษาค้นคว้ารายงาน เอกสาร นโยบาย หนังสือ คำสั่ง บทความข่าวสาร มหาวิทยาลัย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามตามกรอบโครงสร้างที่กำหนดไว้ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว รวมจำนวน 28 คน ควบคู่กับการสังเกตระหว่างการเข้าศึกษาในพื้นที่ ขอบเขตการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการเฉพาะท้องที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จำนวนแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ประมาณเกือบ 5 พันคน ผลการศึกษาพบว่า การละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานต่างด้าว อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนยังคงมีการละเมิดสิทธิแรงงานอยู่ เช่น 1. เรื่องค่าตอบแทน แรงงานต่างด้าวในเขตอำเมืองเมืองแม่ฮ่องสอน ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าแรงงานไทยประมาณ 10 – 20% ตามแต่ประเภทของกิจการ 2. เรื่องสวัสดิการ แรงงานต่างด้าวบางส่วนที่ทำงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก เช่น คนรับใช้ในบ้าน ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันและไม่มีค่าล่วงเวลา ตลอดจนสวัสดิการใดๆ และสถานที่ทำงานบางแห่ง มีการทำงานที่เสี่ยงการเกิดโรค โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันให้ เช่น แรงงานก่อสร้างและแม่บ้านทำความสะอาดในโรงพยาบาล 3. เรื่องใบอนุญาตทำงาน พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนสูงเกินไป อย่างไรก็ตาม ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่พบว่าแรงงานต่างด้าวถูกนายจ้างยึดใบอนุญาตทำงานไว้เพื่อป้องกันการหลบหนี 4. เรื่องความรุนแรงอันเกิดจากชาตินิยมของคนไทย กรณีของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนพบว่า แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติงานและใช้ชีวิตร่วมกับคนไทยได้ดี ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น เนื่องจากชาวแม่ฮ่องสอนและแรงงานต่างด้าวมีวัฒนธรรมและภาษาที่ใกล้เคียงกัน ในส่วนของกลไกของรัฐไทยและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว มีความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักสิทธิแรงงาน โดยกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว เห็นตรงกันว่า ภาพรวมของกฎหมายที่ใช้คุ้มครองแรงงานต่างด้าว เป็นนโยบายที่ดี แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถใช้ได้ผล แรงงานต่างด้าวยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้อย่างแท้จริงen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.