Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69179
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.ชัยวัฒน์ นิ่มอนุสสรณ์กุล-
dc.contributor.advisorอ.ดร.กัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล-
dc.contributor.authorวรรณภา ร้องกาศen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:45:37Z-
dc.date.available2020-07-31T00:45:37Z-
dc.date.issued2014-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69179-
dc.description.abstractThis study aims to analyze the impact of fiscal policy on the macroeconomic variables of the Thai economy namely umemployment rate, interest rate, and Consumer Price Index. The data used here is a quarterly time series data during 2002:Q1 to 2012:Q4, covering 44 quarters. The data are estimated by the simultaneous equations model with three stage least squares (3SLS) The results of unit root test by Augmented Dickey - Fuller (ADF) found that all the variables used in the study are stationary at the level. According to the results of the impact of fiscal policy on macroeconomic variables, tax revenues have a positive effect to private consumption, private investment, government spending, unemployment rate and consumer price index. Where as, the increase of tax revenues, 1 percent impact on variables such increase of 0.655, 0.574, 0.937, 0.620, and 0.086, respectively. While government spending has a negative effect to unemployment rate. Moreover, the multiplier value of government spending is found to be 1.392. It directly stimulates economic growth and gross domestic product. This cause economic expantion and unemployment rate fell. In addition, total public debt has a negative effect to the private consumption and its multiplier value is found to be 0.368. The government debt, known as public debt, is the around of money which borrow from the preple in their country in order to increase a government expense. Consequently, The reverue of these people, who lend to the government money, will decrease and thereby increasing in gross domestic product.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบของการดำเนินนโยบายการคลังต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeImpact of Fiscal Policy on the Macroeconomic Variables of Thailanden_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายการคลังต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย ซึ่งตัวแปรมหภาคดังกล่าวประกอบด้วย อัตราการว่างงาน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี และดัชนีราคาผู้บริโภค ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา(Time series data) รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2545 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ.2555 รวมทั้งสิ้น 44 ไตรมาส ในการประมาณค่าใช้ระบบสมการเกี่ยวเนื่อง จากนั้นจึงทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อย ที่สุดสามขั้น (Three-Stage Least Squares: 3SLS) ผลการทดสอบยูนิทรูทด้วยวิธี Augmented Dickey – Fuller (ADF) พบว่าตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษามีลักษณะนิ่งที่ระดับ Level และผลการทดสอบความสัมพันธ์ของนโยบายการคลังต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค พบว่ารายได้จากภาษีอากรมีความสัมพันธ์กับการบริโภคของภาคเอกชน การลงทุนของภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาล อัตราการว่างงาน และดัชนีราคาผู้บริโภค ในทิศทางเดียวกัน โดยการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีอากรร้อยละ 1 ส่งผลต่อตัวแปรดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.655, 0.574, 0.937, 0.620, และ 0.086 ตามลำดับ ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลมีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานในทิศเดียวกัน ค่าทวีของการใช้จ่ายรัฐบาลเท่ากับ 1.392 การใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตัวโดยตรง ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการขยายตัว เกิดการจ้างงานและอัตราการว่างงานจึงลดลง และหนี้สาธารณะรวมมีความสัมพันธ์กับการบริโภคของภาคเอกชนในทิศทางตรงข้าม ค่าทวีของหนี้สาธารณะเท่ากับ 0.368 การกู้หนี้สาธารณะของรัฐบาลคือการยืมเงินของประชาชนในประเทศเพื่อมา ใช้จ่ายต่างๆ จึงถือเป็นการดึงเอาทรัพยากรส่วนหนึ่งจากประชาชนมาใช้จ่าย ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ในการใช้จ่ายลดลงเท่ากับจำนวนเงินที่ให้รัฐบาลกู้ไป และส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลดลงเช่นกันen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
full.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.