Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร. วินิตา บุณโยดม-
dc.contributor.advisorดร. รุ้งลาวัลย์ สมสุนันท์-
dc.contributor.authorธิติรัตน์ พุฒนิลen_US
dc.date.accessioned2020-07-30T01:24:36Z-
dc.date.available2020-07-30T01:24:36Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69170-
dc.description.abstractSynthesis, fabrication and properties of poly(L-lactide-co-glycolide) (PLG) copolymer for use as resorbable polymer plates in orthognathic surgery was studied in this research work. The PLG copolymer in the ratio of 82:18 mole % was synthesized via ring-opening bulk polymerization (ROP) at 120 and 130 °C for 96 hours using 0.0175 mole % of liquid tin(II) n-butoxide as initiator. Two differences molecular weights (intrinsic viscosity [] = 1.24 and 2.77 dl/g) were synthesized using the different controlled temperature. PLG copolymer sheets were fabricated using injection molding followed by international standard ASTM D790 in rectangular shape for flexural property testing. In vitro hydrolytic degradation of PLG sheets were tested by immersed in phosphate buffer saline (PBS) solution at pH 7.40  0.2 and maintain at a temperature of 37.0  0.5 °C in an incubator for 84 days. The hydrolytic degradation was followed via the characteristic changes in the degradation periods such as the physical appearances, % weight loss, % water absorption, pH, ratio of copolymer, molecular weight, thermal properties, flexural property and surface topography changes by SEM. The results found that two difference molecular weight of PLG copolymer sheets did not differ significantly between the hydrolytic degradation testing. The PLG copolymer sheets was readily hydrolysable in the aqueous environment and the pH decreased after 84 days, indicating that the hydrolytic reaction taking place produced low molecular weight give acidic degradation products. In comparison, the %weight loss and %water absorption showed that the hydrolytic degradation of PLG copolymer is bulk erosion. This is consistent with SEM images showed that the hydrolytic degradation process takes place bulk erosion rather than on the surface because of many fracture and pore in the cross section. In addition, the change of the ratio of the monomer in PLG copolymer sheet indicate that glycolide unit can be degraded faster than L-lactide unit, which is random chain scission. It was also found that change of degradation time does not affect the morphology of PLG copolymer sheets but affect the percent crystallinity, which affect the mechanical properties.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการผลิตพอลิ(แอล-แลกไทด์-โค-ไกลโคไลด์) สำหรับใช้เป็นแผ่นพอลิเมอร์ดูดซึมได้ในทางศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรen_US
dc.title.alternativeProduction of Poly(L-lactide-co-glycolide) for Use as Resorbable Polymer Plates in Orthognathic Surgeryen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการสังเคราะห์ การขึ้นรูป และ ทดสอบสมบัติของพอลิ(แอล-แลกไทด์-โค-ไกลโคไลด์) (พีแอลจี) โคพอลิเมอร์ สำหรับใช้เป็นแผ่นพอลิเมอร์ดูดซึมได้ในทางศัลยกรรมกระดูกขากรรไกร โดยทำการสังเคราะห์พีแอลจีโคพอลิเมอร์อัตราส่วน 82:18 เปอร์เซ็นต์โดยโมล ผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงในบัลค์ที่ 120 และ 130 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 96 ชั่วโมง โดยใช้ทิน(II) บิวทอกไซด์ชนิดของเหลวที่ความเข้มข้น 0.0175 เปอร์เซ็นต์โมลเป็นตัวริเริ่มปฏิกิริยา ทำการสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกันสองน้ำหนักโมเลกุลมีค่าความหนืดอินทรินสิกเท่ากับ 1.24 และ 2.77 เดซิลิตรต่อกรัม ซึ่งควบคุมโดยใช้อุณหภูมิในการสังเคราะห์ที่แตกต่างกัน ทำการขึ้นรูปแผ่นพีแอลจีโคพอลิเมอร์ด้วยเทคนิคการฉีดขึ้นรูปให้มีลักษณะชิ้นงานแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามมาตรฐานเอเอสทีเอ็ม ดี 790 เพื่อทดสอบสมบัติการดัดโค้ง หลังจากนั้นทำการทดสอบสมบัติการสลายตัวแบบไฮโดรไลติกภายนอกร่างกาย โดยแช่ในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาลีนที่พีเอช 7.40  0.2 อุณหภูมิ 37.0  0.5 องศาเซลเซียส ในตู้ควมคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 84 วัน และติดตามสมบัติต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการสลายตัวแบบไฮโดรไลติกในช่วงเวลาต่างๆ ได้แก่ สมบัติภายนอกที่ตามองเห็น เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก เปอร์เซ็นต์น้ำที่ถูกดูดซับ พีเอช องค์ประกอบมอนอเมอร์ในโคพอลิเมอร์ น้ำหนักโมเลกุล สมบัติทางความร้อน สมบัติการดัดโค้ง และลักษณะพื้นผิวที่เปลี่ยนแปลงโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาพบว่า แผ่นพีแอลจีที่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกัน ไม่ได้มีความแตกต่างของผลการสลายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งพบว่าแผ่นพีแอลจีมีแนวโน้มที่จะถูกไฮโดรไลต์ในสารละลาย และค่าพีเอชจะลดลงหลังจาก 84 วัน แสดงให้เห็นว่าเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลติกแล้วให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสลายตัวในสภาวะกรดที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และจากการเปรียบเทียบอัตราการสูญเสียน้ำหนักและอัตราน้ำที่ถูกดูดซับทำให้ทราบว่าการสลายตัวของแผ่นพีแอลจีโคพอลิเมอร์เป็นการสลายตัวภายในแบบบัลค์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตอนแบบส่องกราดที่พบว่ากระบวนการสลายตัวเกิดแบบภายในมากกว่าจะเกิดที่ผิว ทำให้พบรอยแตกและรูพรุนจำนวนมากในภาพที่เป็นภาคตัดขวาง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนของมอนอเมอร์ในแผ่นพีแอลจีนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่าส่วนของ ไกลโคไลด์สามารถเกิดการสลายตัวได้เร็วกว่าแอล-แลกไทด์ โดยการสลายตัวเป็นแบบการตัดสายโซ่แบบสุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อเวลาการสลายตัวเปลี่ยนไป ไม่มีผลต่อสัณฐานวิทยาของแผ่นพีแอลจีโคพอลิเมอร์ แต่ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์ความเป็นผลึก ซึ่งทำให้ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงกลen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf9.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.