Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68980
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ชาติชาย ดวงสอาด-
dc.contributor.authorชาตรี ศรีชาติen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:47:43Z-
dc.date.available2020-07-21T05:47:43Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68980-
dc.description.abstractThis independent study presents the Scrum Product Backlog Structure Using Analytic Hierarchy Process. The purposes of this work are to study the scrum product backlog structure using analytic hierarchy process and also to develop a software tool for creating hierarchy structure which can be applied to such a various software development projects in order to facilitate a software developer who has distressed experience (less than five years). This software represents an effect from software’s change request in the development life circle, support the development team to analyses all useful data in the hierarchy structure, as well as create essential reports for scrum activities. In this work, users who considered for using the developed software tool can be classified into four groups based on their roles and ability to access data. User’s groups are including product owner, scrum master, development team and stakeholder. Product owner and scrum master can align software requirement to be groups and hierarchy structure. As a result, the software tool can render a tree diagram from the hierarchical structure to visualize the entire software requirements in either product or sprint. The tree diagram can also be the representation which comparing between value of requirement or value of cost and a selected backlog item on the same hierarchical structure level in order to support the prioritization. With this software tool, a development team member can select a task from the screen in which they want to work on. The selected task would be related to the code revision automatically. Moreover, the code revision that has been committed can be shown side by side with the previous revision that rich of flexibility, traceability and easily to verify. In addition, product owner and scrum master are able to draw a diagram by using a built-in drawing tool, file attachment tool, and tag also comments for improve work collaboration. The software tool can display tracking item and task traceability reports by using hierarchy data, diagrams and attached files. The traceability reports can be displayed within a single-page to be viewed easily and give more perception. The study results are that people who participate to the software development project can easily understanding in software requirements through the hierarchical structure and its reporting. Software development team members get more benefits and more convenience with the automatically code commissions as they can look back and forward between a task and related code.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาโครงสร้างของสกรัมโปรดักแบคล็อกโดยใช้ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นลำดับชั้นen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Scrum Product Backlog Structure Using Analytic Hierarchy Process Systemen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระ ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาโครงสร้างของสกรัมโปรดักแบคล็อกโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นลำดับชั้นฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และพัฒนาโครงสร้างของสกรัมโปรดักแบคล็อกโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นลำดับชั้น รวมถึงการนำโครงสร้างดังกล่าวมาพัฒนาเป็นเครื่องมือสกรัมสำหรับการสร้างโครงสร้างลำดับชั้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในโครงการซอฟต์แวร์ได้จริง ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ความต้องการซอฟต์แวร์ในระดับต่ำ-ปานกลาง (ต่ำกว่า 5 ปี) โดยเครื่องมือสกรัมนี้ฯ จะช่วยประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการซอฟต์แวร์ ตลอดช่วงระยะการพัฒนา พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากโครงสร้างลำดับชั้นของโปรดักแบคล๊อก และสร้างรายงานที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมในโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการจัดทำโครงการครั้งนี้ ได้มีการแบ่งผู้เกี่ยวข้องในโครงการออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ โปรดักโอนเนอร์ (Product Owner) สกัมมาสเตอร์ (Scrum Master) ทีมพัฒนา (Development Team) และสเตกโฮลเดอร์ (Stakeholder) โปรดักโอนเนอร์ และสกรัมมาสเตอร์สามารถจัดความต้องการของซอฟต์แวร์ให้เป็นหมวดหมู่ และเป็นลำดับชั้น ระบบสามารถนำข้อมูลลำดับชั้นนั้นมาแสดงเป็นแผนภาพต้นไม้เพื่อความสะดวกในการมองภาพรวมข้อความต้องการทั้งหมด โดยแผนภาพนั้นจะแสดงสำหรับโปรดักเพื่อให้เห็นภาพรวมของความต้องการของโปรดัก และแสดงสำหรับรอบการทำงานเพื่อแสดงให้เห็นความต้องการเฉพาะภายในเฉพาะรอบการทำงาน ภายในแผนภาพต้นไม้จะแสดงแผนภาพแสดงการเปรียบเทียบคุณค่า และต้นทุนของความต้องการกับความต้องการอื่นในระดับชั้นเดียวกันเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ระดับความสำคัญของความต้องการ ทีมพัฒนาสามารถเลือกงานที่ต้องทำจากหน้าจอ และเชื่อมโยงงานที่เลือกนั้นกับโค้ดที่ถูกคอมมิทในช่วงเวลาหนึ่งๆได้อย่างอัตโนมัติ โดยการเปลี่ยนแปลงของโค้ดที่ถูกคอมมิทนั้นจะถูกแสดงโดยเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงก่อนหน้าเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ งานที่ถูกเลือกโดยทีมพัฒนาแต่ละคนจะถูกแสดงต่อสกรัมมาสเตอร์ซึ่งจะทำให้สกรัมมาสเตอร์สามารถติดตามงานของทีมพัฒนาได้อย่างสะดวก นอกจากนี้โปรดักโอนเนอร์ และสกัมมาสเตอร์ยังสามารถวาดแผนภาพอธิบายความต้องการได้โดยใช้เครื่องมือวาดแผนภาพของระบบ แนบไฟล์ให้กับความต้องการ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการได้อีกด้วย และทีมพัฒนาก็สามารถวาดแผนภาพ แนบไฟล์ และแสดงความคิดเห็นต่องานได้เช่นเดียวกัน รวมถึงระบบที่พัฒนาสามารถแสดงรายงานการติดตามความต้องการ และงานได้จากโครงสร้างข้อมูลลำดับชั้น แผนภาพ และไฟล์ โดยการแสดงรายงานการติดตามนั้นจะแสดงภายในหนึ่งหน้าเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการรับรู้จากการดูรายงาน ผลที่ได้จากการศึกษาคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการซอฟต์แวร์สามารถเรียนรู้ความต้องการของซอฟต์แวร์ได้สะดวกโดยการดูผ่านแผนลำดับชั้น และรายงานการติดตามความต้องการ และทีมพัฒนาได้รับความสะดวกจากการเชื่อมโยงงานที่ทำกับโค้ดที่ถูกคอมมิทอย่างอัตโนมัติen_US
Appears in Collections:CAMT: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf15.3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.