Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68870
Title: ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและความพึงพอใจของนักศึกษาทันตแพทย์ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2 วิธี ในการสัมมนาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Other Titles: Dental Students’ achievement and satisfaction of Two Learning Methods in an Orthodontic Case Seminar, Faculty of Dentistry, Chiang Mai University
Authors: ปิยะนารถ จาติเกตุ
วิรัช พัฒนาภรณ์
ธนพรรณ วัฒนชัย
Authors: ปิยะนารถ จาติเกตุ
วิรัช พัฒนาภรณ์
ธนพรรณ วัฒนชัย
Keywords: การจัดกระบวนการเรียนรู้;สุนทรีสนทนาแบบประยุกต์;การสอนแบบทีม;ทันตกรรมจัดฟัน;นักศึกษาทันตแพทย์;Learning methods;Dialogue;Team teaching;Orthodontics;Dental students
Issue Date: 2558
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 131-143
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและความพึงพอใจของนักศึกษา ระหว่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2 วิธี ในการสัมมนาทันตกรรมจัดฟันคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัสดุและวิธีการ รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองในชั้นเรียน ศึกษาในกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาคลินิกทันตกรรมจัดฟัน 601 จำนวน 64คน แบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหนึ่งใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาโดยผู้สอน 1 ท่าน จำนวน 33 คน อีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกระบวนการสอนแบบทีมโดยผู้สอน 2 ท่าน จำนวน 31 คน โดยใช้เนื้อหาของกระบวนวิชาที่เหมือนกันทั้งสองกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ช่วง คือ ในครั้งที่ 1ของการเรียนซึ่งเป็นช่วงแรกก่อนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้ และในครั้งสุดท้ายของการเรียน จะให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้การทดสอบที และการทดสอบไคสแควร์ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา ในส่วนของการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา พบว่า ไม่ว่าจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใด ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น (p-value < 0.01) แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ 2 วิธีไม่มีความแตกต่างกัน (p-value = 0.377) ในส่วนของการเปรียบเทียบความพึงพอใจ พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มที่ใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสนทนามีระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบทีมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และยังพบว่า นักศึกษามีความประทับใจต่อการเรียนรู้ทั้งสองวิธีคล้ายกันคือ ประทับใจในตัวผู้สอนซึ่งได้แก่ ความเป็นกันเอง ความทุ่มเทและเอาใจใส่ในการสอน การเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น บทสรุป การศึกษานี้พบว่า วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองวิธีทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดี ขึ้น โดยองค์ประกอบที่สำคัญคือบทบาทของผู้สอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ Objective: This study compared two teaching methods, the applied dialogue and team teaching, in terms of student achievement and satisfaction. Material and methods: This study was an experiment study in class. Sixty-four sixth year dental students, enrolled in an orthodontic clinical case seminar at the Faculty of Dentistry, Chiang Mai University, were selected as samples. The applied dialogue method using one facilitator was conducted for 33 students, and the team teaching method using two facilitators was arranged for 31 students. Both methods focused on identical orthodontic contents. Data were collected using a knowledge achievement test and a learning satisfaction questionnaire. Descriptive statistics were used to provide basic information. The T-test and Chi-square test were used for analysis. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Results: The post-test score on the knowledge achievement test significantly increased compared to the pre-test score for both methods (p-value < 0.01). The difference in knowledge achievement score between both methods was not statistically significant (p-value = 0.377). On almost all aspects of satisfaction, the scores of the applied dialogue group were significant higher than those of the team teaching group (p-value < 0.05). The students were most impressed by the facilitators’ behaviors in both methods, especially friendliness, relaxation, attention, enthusiasm and giving a chance for them to express their opinions. Conclusions: Both the applied dialogue and team teaching methods similarly enhanced student achievement. In addition, the most important factors are the facilitators’ behaviors for learning process.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_396.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68870
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.