Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68852
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย
Other Titles: Factors Related to Accessibility of Dental Care Service among the Elderly in Lower Northern Region, Thailand
Authors: สุภาพร แสงอ่วม
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
ภูดิท เตชาติวัฒน์
ชญานินท์ ประทุมสูตร
กันยารัตน์ คอวนิช
Authors: สุภาพร แสงอ่วม
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
ภูดิท เตชาติวัฒน์
ชญานินท์ ประทุมสูตร
กันยารัตน์ คอวนิช
Keywords: การเข้าถึงบริการ;บริการทันตกรรม;ผู้สูงอายุ;accessibility;dental care services;elderly
Issue Date: 2558
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 53-61
Abstract: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรม และระบุปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 700 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 75.0 มีฟันธรรมชาติ โดยเฉลี่ยจำนวน 13.8 ซี่ (+ - 11.8) ร้อยละ 58.3 ไม่ได้ใส่ฟันเทียม ร้อยละ 50.0 ไปพบทันตแพทย์เมื่อมีอาการ ร้อยละ 25.9 ไม่เคยพบทันตแพทย์เลย ส่วนระดับการเข้าถึงบริการ พบว่า ด้านการยอมรับในบริการมีคะแนนสูงสุด ร้อยละ 73.43 และด้านการเข้าถึงสถานบริการ มีคะแนนต่ำสุด ร้อยละ 65.46 และพบว่ามีปัจจัย 5 ด้าน ที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการ ได้แก่ 1) การไม่ได้เรียนหนังสือ 2) อาชีพเกษตรกร 3) อาชีพรับจ้าง 4) การอยู่คนเดียว และ 5) การมีรายได้ของตนเอง ซึ่งปัจจัยทั้งหมด สามารถร่วมกันพยากรณ์คะแนนรวมการเข้าถึงบริการทันตกรรมได้ร้อยละ 7.7 ข้อเสนอแนะควรให้ความสำคัญกับการจัดบริการเชิงรุก และการรับส่งผู้สูงอายุไปรับบริการทันตกรรม A cross-sectional study aimed to 1) assess the level of access to dental care services of elderly in Lower Northern Region and 2) identify factors related to access to dental care services of elderly in Lower Northern Region, Thailand. The sample of 700 elderly was sampled by multi-stage sampling techniques. Questionnaire was used to gather the data which were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results revealed the most of the elderly (75.0%) retained their natural teeth and mean of number of teeth were 13.8 (+-11.8). The majority of 58.3 % of the elderly had no denture, 50.0% of the elderly visited the dentists when they had the symptoms and 25.9 % of the elderly had never visited the dentists. In terms of access to dental services, the highest score was in the domain of acceptability (73.43 %) and the lowest score was accessibility (65.46 %). Education, occupation (farmer and employee), living alone and income jointly predicted 7.7 % of access to dental care services (R2 adjusted = 0.077). This study suggests that providers should focus on the proactive dental care services and the transportation of the elderly.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_1_380.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68852
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.