Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68829
Title: ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Effectiveness of Implementing Nursing Management Guidelines for Persons with Type 2 Diabetes Mellitus, Tron Hospital, Uttaradit Province
Authors: วัลลภา ทองศรีอ้น
ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์
Authors: วัลลภา ทองศรีอ้น
ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์
Keywords: แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาล;ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 289-300
Abstract: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก การสนับสนุนให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการก่อนการใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 67 คน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 62 คน กระบวนการใช้แนวปฏิบัติ อิงกรอบแนวคิดที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Counsil [NHMRC], 1990, 2000) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาล สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2) คู่มือประกอบการสอนสุขศึกษาแก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 3) เครื่องฮิวมาไลเซอร์ รุ่นเอ็มโอหนึ่งซีเจ็ดอีเอเอห้าแปดแปดเก้า ที่ใช้สำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล 3) แบบสัมภาษณ์การดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินไม่สุลิน เครื่องมือที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเชื่อมั่นก่อนนำมาใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการก่อนการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 38.81 และกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติ มีร้อยละ 67.74 2) กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการก่อนการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี พบร้อยละ 40.30 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติ พบร้อยละ 64.52 3) กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการก่อนการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ พบร้อยละ 37.30 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการหลังการใช้แนวปฏิบัติ พบร้อยละ 59.70 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงเสนอให้มีการใช้แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพในการดูแลประชากรกลุ่มนี้ต่อไป Type 2 diabetes is a major health problem worldwide. Supporting people with diabetes is important to control blood sugar levels to prevent the occurrence of complications. This study aimed to determine the effectiveness of implementing nursing management guidelines for persons with diabetes type 2 attending diabetic clinic, Tron Hospital, Uttaradit Province. Subjects were 67 persons with type 2 diabetes mellitus in the guideline pre-implementation group and 62 in post-implmentation group. The guidelines implementation process was based on the framework proposed by the Australian National Health and Medical Research Council (NHMRC, 1999, 2000). The study instruments consisted of 1) the nursing management guidelines for persons with type 2 diabetes mellitus, 2) health education handbooks for persons with diabetes mellitus, and 3) humalyzer series number M01C7EAA5889 chemistry analyzer. The outcomes assessment instruments consisted of 1) demographic data recordings form, 2) the interviewing form regarding knowledge for blood control self-care, and 3) the interviewing form regarding self-care among persons with non-insulin dependent diabetes. The content validity and reliability of all instruments were tested. Descriptive statistics was employed to analyze data. The study found that: 1.Subjects in the pre-guidelines implementation group had good self-care knowledge level as 38.81%, whereas there were 67.74% in the post-implementation group. 2.Subjects in the pre-guidelines implementation group had good self-care behaviors level as 40.30%, whereas there were 64.52% in the post-implementation group. 3.Subjects in the pre-guidelines implementation group could control their blood sugar level as 37.30%, whereas there were 59.70% in the post-implementation group. The results of this study demonstrated the effectiveness of nursing management guidelines for persons with type 2 diabetes mellitus at Tron hospital, Uttaradit province. Further implementation is recommended to enhance quality of care in this population.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240756/164084
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68829
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.