Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68806
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ มาก๋าen_US
dc.contributor.authorจันทรรัตน์ เจริญสันติen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 35-44en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240724/164053en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68806-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมการออกกำลังกายของสตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการพัฒนาไปเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้ สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการออกกำลังกาย และความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการออกกำลังกายของสตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีภายหลังคลอดบุตร 4-6 สัปดาห์ และได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มารับการตรวจหลังคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 และโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 85 ราย ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้ของการเป็นโรคเบาหวานของ Kim, Goewey, McEvan, Ferrara, & Walker, (2007) แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้วิจัย แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายของ Kim, McEwen, Kieffer, Herman,& Piette, (2008) แปลเป็นภาษาไทยโดยผู้วิจัย และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายของสตรีหลังคลอดที่ดัดแปลงจากแบบสอบถามพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน (Panyoyai, 2007) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.สตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้ของการเป็นโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ( = 35.33, S.D. = 7.60) 2.สตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ( = 32.71, S.D. = 9.07) 3.สตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 43.92, S.D. = 7.36) 4.สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .594, p < .01) ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้สตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น Exercise behaviors of postpartum women with gestational diabetes mellitus can reduce the risk of them developing Type 2 diabetes. The purposes of this descriptive correlational research were to investigate perceived susceptibility, self-efficacy, exercise behaviors and their relationship among postpartum women with gestational diabetes mellitus. The subjects were 85 postpartum women with gestational diabetes mellitus who attended 4 – 6 weeks postpartum checkup at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Health Promotion Region 1 Hospital, and Lamphun Hospital between September 2014 and January 2015. The research instruments included: The Risk Perception Survey for Developing Diabetes developed by Kim, Goewey, McEwen, Ferrara, Piette, and Walker (2007), translated into Thai by the researchers, The Self-Efficacy Surveys for Exercise Behaviors developed by Kim, McEwen, Kieffer, Herman, and Piette (2008), also translated into Thai by the researchers, and The Exercise Behavior of Postpartum Women, modified from Exercise Behaviors Questionnaire, which was developed by Pimpaka Panyoyai (Panyoyai, 2007). Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson correlation coefficient. The results of the study were as follows: 1.The postpartum women with gestational diabetes mellitus had a perceived susceptibilityof diabetes at a moderate level ( = 35.33, S.D. = 7.60). 2.The postpartum women with gestational diabetes mellitus demonstrated self-efficacy forexercise at a moderate level ( = 32.71, S.D. = 9.07). 3.The postpartum women with gestational diabetes mellitus demonstrated exercise behaviors at a moderate level ( = 43.92, S.D. = 7.36). 4.Self-efficacy for exercise had a positive significant correlation at a high level in relation to exercise behaviors (r = .594, p < .01). The findings of this study can be used as a guideline to promote self-efficacy for exercise to increase exercise behaviors of postpartum women with gestational diabetes mellitus.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้en_US
dc.subjectสมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการออกกำลังกายen_US
dc.subjectสตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์en_US
dc.titleโอกาสเสี่ยงตามการรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของสตรีหลังคลอดที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativePerceived Susceptibility, Self-efficacy, and Exercise Behaviors among Postpartum Women with Gestational Diabetes Mellitusen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.