Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68805
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกัญญาพัชร นิยมสัตย์en_US
dc.contributor.authorศรีมนา นิยมค้าen_US
dc.contributor.authorสุธิศา ล่ามช้างen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 66-76en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240727/164056en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68805-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะการพยากรณ์โรคมะเร็งไม่แน่นอน การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนข้อมูลกับการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดที่มีอายุตั้งแต่ 1 ถึง 15 ปี จำนวน 85 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งและแบบสอบถามการสนับสนุนข้อมูลของผู้ดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็ง ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .94 .95 และ.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลเด็กป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.69, p<.01) การสนับสนุนข้อมูลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.49, p<.01) ดังนั้นในการวางแผนการพยาบาลหรือการวิจัยจึงควรเน้นส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้ดูแลเด็กป่วย เพื่อพัฒนาให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดูแลรักษาเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด The caregiver participation in treatment decision–making for children with cancer receiving chemotherapy is important because cancer is an uncertain prognosis. The purpose of this correlational descriptive study was to investigate caregiver participation in treatment decision–making for children with cancer receiving chemotherapy, and to explore the relationship among perceived self-efficacy, information support, and 85 caregiver participation in treatment decision–making for children aged 1 to 15 years with cancer receiving chemotherapy. The research instruments consisted of the Caregiver Participation in Treatment Decision–Making for Children with Cancer Receiving Chemotherapy Questionnaire and the Perceived Self-Efficacy in Treatment Decision–Making for Children with Cancer Questionnaire developed by the researcher, and the Information Support for Caregivers of Children with Cancer Questionnaire with Cronbach’s alpha coefficient reliability.94, .95 and .97, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient. Findings of this study showed caregiver participation in treatment decision–making for children with cancer receiving chemotherapy was moderate. Caregiver perceived self-efficacy had a statistically significant strong positive correlation with caregiver participation in treatment decision–making for children with cancer receiving chemotherapy (r =.69, p<.01) and information support had a statistically significant moderate positive correlation with caregiver participation in treatment decision–making for children with cancer receiving chemotherapy (r = .49, p<.01). These results should be used as the basis for planning nursing care and this research emphasizes on self-efficacy promoting and information support to improve caregiver’s decision to participate in treatment decision-making for children with cancer receiving chemotherapy.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษาen_US
dc.subjectเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.subjectปัจจัยที่เกี่ยวข้องen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการตัดสินใจดูแลรักษา เด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Caregiver Participation in Treatment Decision-Making for Children with Cancer Receiving Chemotherapyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.