Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68794
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลัดดา ผลรุ่งen_US
dc.contributor.authorฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์en_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 440-452en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241834/164616en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68794-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการจำหน่ายผู้ป่วยอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยใช้แนวคิดลีน ตามกรอบแนวคิดของWomack & Jones (2003) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย จำนวน 32 คน และกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) ตารางอธิบายลักษณะกิจกรรม 2) แบบฟอร์มการวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรม 3) แบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ และ 4) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ความเที่ยงของการสังเกตของผู้สังเกต 2 คน เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 ที่ได้รับการปรับปรุงโดยแนวคิดลีน มีลักษณะ 5 กิจกรรมหลัก และ 15 กิจกรรมย่อย ซึ่งลดลงจากกระบวนการก่อนการปรับปรุงกระบวนการที่มีจำนวน 20 กิจกรรมย่อย 2) เวลามาตรฐานที่ใช้ในกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 หลังการปรับปรุงเท่ากับ 56.13 นาที ซึ่งลดลงจากเวลามาตรฐานก่อนการปรับปรุงกระบวนการซึ่งเท่ากับ 247.00 นาที 3. ปัญหาของการประยุกต์แนวคิดลีนในกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย ได้แก่ 1) บุคลากรคุ้นชินกับการปฏิบัติกิจกรรมการจำหน่ายตามกระบวนการเดิมก่อนปรับปรุง 2) ภาระงานมากทำให้บุคลากรไม่มีเวลาพอที่จะปฏิบัติบางกิจกรรมในกระบวนการจำหน่ายที่ปรับปรุง 3) บุคลากรมีการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดลีนแตกต่างกัน และข้อเสนอแนะได้แก่ ควรนิเทศ ติดตาม สนับสนุน ช่วยเหลือแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควรจัดอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภาระงาน และจัดทำแผนพัฒนาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดลีนแก่บุคลากร ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดลีนสามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการของกิจกรรมบริการอื่น ๆ ในองค์การต่อไป Rapid patient discharge is a part of providing efficient and responsive service to the needs of the customer. The purpose of this study was to improve the patient discharge process in Female Medical Ward 1, Buddhachinnaraj Phitsanulok Hospital, by using the Lean Thinking Concept of Womack and Jones (2003). The sample included 32 personnel that are involved in the patient discharge process and discharge activities and the numbers of the activities in nursing service during July to September 2017. The research instruments included: 1) a table for describing the activities of the discharge process, 2) a form for value analysis of discharge activity, 3) a record form for time spent on discharge activity 4) the focus group interview guidelines regarding problems and recommendations. These research instruments were validated by three experts. The inter-rater reliability of two observers for the recorded time was 1.0. Data were analyzed using descriptive statistics The results revealed that: 1.The patient discharge process improvement applying Lean thinking in Female Medical Ward 1 consisted of five major activities and 15 minor activities which is a reduction from the original 20 minor activities for the process before improvement. 2.The standard time of the improved patient discharge process applying Lean thinking in Female Medical Ward 1 was greatly reduced to 56.13 minutes from the original standard time of 247.00 minutes before improvement. 3.The problems of applying Lean Thinking to improve discharge process in Female Medical Ward 1 include: 1) personnel who were familiar with the old routine discharge process 2) the usual high workload of the nurses leaves limited time to do some of the improved discharge activities 3) different understanding of personnel regarding the Lean Thinking. The recommendations included continuous supervision, supporting and assisting personnel, matching the staffing to the workload, and developing a plan to educate personnel about the concepts of Lean Thinking. The results of this study revealed that the improvement of the patient discharge process using the Lean thinking can reduce the process and duration of the operation.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการประยุกต์แนวคิดลีนen_US
dc.subjectกระบวนการจำหน่ายen_US
dc.subjectผู้ป่วยอายุรกรรมen_US
dc.titleการประยุกต์แนวคิดลีนในการปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeApplying Lean Thinking to Improve Patient Discharge Process, Female Medical Ward 1, Buddhachinnaraj Phitsanulok Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.