Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเครือวัลย์ คนอยู่en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ เฉลิมสุขen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 204-215en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241808/164596en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68777-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstract"ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดามีความสำคัญต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรมของบุตร การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่น สืบค้นจากงานวิจัยทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม รวมทั้งงานวิจัยกึ่งทดลอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2559 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของ The Joanna Briggs Institute [JBI] (2016) เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสกัดข้อมูลของ The Joanna Briggs Institute งานวิจัยกึ่งทดลอง 2 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเข้า แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมตาได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในวิธีการส่งเสริมและการวัดผลลัพธ์ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้จึงวิเคราะห์สรุปเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบ คือ 1) การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร 2) ความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมการเป็นมารดา และ 3) ความพึงพอใจในบทบาทมารดา การส่งเสริมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มสามารถให้ผลลัพธ์ทางบวกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่น และการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดสามารถเพิ่มความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ในระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องจนถึงระยะหลังคลอด นอกจากนี้ควรมีการวิจัยปฐมภูมิที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยเฉพาะงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลลัพธ์ของวิธีการในการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นต่อไป Maternal role attainment is important for the physical, psychological, social, emotional and behavior in infants. The purpose of this systematic review was to study the effectiveness of maternal role attainment enhancement among adolescent mothers. A comprehensive search was performed on all published and unpublished randomized controlled trial and quasi-experimental studies from 1991 to 2016. Studies in both Thai and English were reviewed. This systematic review used the systematic review guidelines developed by Joanna Briggs Institute (JBI, 2016), as well as the JBI Critical Appraisal Form and Data Extraction Form. Two quasi-experimental studies met the review inclusion criteria. Meta-analysis could not be applied as these studies were dissimilar in terms of types of intervention and measuring outcomes. Instead, a narrative summarization was used. The finding of this study indicated that the effectiveness of maternal role attainment enhancement among adolescent mothers depended on three components: 1) attached to the infant, 2) competence, and 3) gratification/ satisfaction in the maternal role. Both individual and group interventions had positive outcomes on maternal role attainment among adolescent mothers. Continuous enhancement delivered from pregnancy through the postpartum period could increase maternal role attainment. The findings in this systematic review suggest that maternal role attainment enhancement may be individual or group based and should continue through pregnancy and the postpartum period. Moreover, primary research using an experimental research design should be conducted, especially randomized controlled trials, to ensure the outcomes of the intervention for enhancing maternal role attainment among adolescent mothers." "ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดามีความสำคัญต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรมของบุตร การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่น สืบค้นจากงานวิจัยทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม รวมทั้งงานวิจัยกึ่งทดลอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึงปี พ.ศ. 2559 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของ The Joanna Briggs Institute [JBI] (2016) เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสกัดข้อมูลของ The Joanna Briggs Institute งานวิจัยกึ่งทดลอง 2 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเข้า แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมตาได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในวิธีการส่งเสริมและการวัดผลลัพธ์ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้จึงวิเคราะห์สรุปเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบ คือ 1) การมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร 2) ความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมการเป็นมารดา และ 3) ความพึงพอใจในบทบาทมารดา การส่งเสริมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มสามารถให้ผลลัพธ์ทางบวกต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่น และการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดสามารถเพิ่มความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ในระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องจนถึงระยะหลังคลอด นอกจากนี้ควรมีการวิจัยปฐมภูมิที่เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยเฉพาะงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพิ่มเติม เพื่อยืนยันผลลัพธ์ของวิธีการในการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่นต่อไป Maternal role attainment is important for the physical, psychological, social, emotional and behavior in infants. The purpose of this systematic review was to study the effectiveness of maternal role attainment enhancement among adolescent mothers. A comprehensive search was performed on all published and unpublished randomized controlled trial and quasi-experimental studies from 1991 to 2016. Studies in both Thai and English were reviewed. This systematic review used the systematic review guidelines developed by Joanna Briggs Institute (JBI, 2016), as well as the JBI Critical Appraisal Form and Data Extraction Form. Two quasi-experimental studies met the review inclusion criteria. Meta-analysis could not be applied as these studies were dissimilar in terms of types of intervention and measuring outcomes. Instead, a narrative summarization was used. The finding of this study indicated that the effectiveness of maternal role attainment enhancement among adolescent mothers depended on three components: 1) attached to the infant, 2) competence, and 3) gratification/ satisfaction in the maternal role. Both individual and group interventions had positive outcomes on maternal role attainment among adolescent mothers. Continuous enhancement delivered from pregnancy through the postpartum period could increase maternal role attainment. The findings in this systematic review suggest that maternal role attainment enhancement may be individual or group based and should continue through pregnancy and the postpartum period. Moreover, primary research using an experimental research design should be conducted, especially randomized controlled trials, to ensure the outcomes of the intervention for enhancing maternal role attainment among adolescent mothers."en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดำรงบทบาทมารดาen_US
dc.subjectมารดาวัยรุ่นen_US
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.titleประสิทธิผลของการส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในมารดาวัยรุ่น: การทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Maternal Role Attainment Enhancement Among Adolescent Mothers: A Systematic Reviewen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.