Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68773
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนล้าในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
Other Titles: Factors Related to Fatigue Among Gestational Diabetic Women
Authors: กัญญาภัค เทียนโชติ
กรรณิการ์ กันธะรักษา
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
Authors: กัญญาภัค เทียนโชติ
กรรณิการ์ กันธะรักษา
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
Keywords: ความอ่อนล้า;คุณภาพการนอนหลับ;การสนับสนุนทางสังคม;เบาหวานขณะตั้งครรภ์;พยาบาลผดุงครรภ์
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 191-203
Abstract: เบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนในสตรีตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และวิถีการดำเนินชีวิตทำให้เกิดความอ่อนล้าซึ่งมีผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอ่อนล้าในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำนวน 84 ราย ที่มารับบริการ ณ แผนก ฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด แบบวัดดัชนีคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบริ์กพัฒนาโดย Buysee, Reynolds, Monk, Berman & Kupfer (1989) แปลเป็นภาษาไทยโดย JIrapramukpitak & Tanchaisawad (1997) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของ Boontub (1991) ที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ Brown (1986) และแบบสอบถามความอ่อนล้าของ Pugh, Milligan, Parks, Lenz & Kitzman (1999) แปลเป็นภาษาไทยโดย Theerakulchai (2004) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 91.21 (SD = 9.25) และ 91.05 (SD = 8.29) ตามลำดับ คุณภาพการนอนหลับของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามอยู่ในระดับไม่ดี ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพการนอนหลับเท่ากับ 13.69 (SD = 1.13) และ 14.23 (SD = 1.37) ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยของคะแนนการสนับสนุนทางสังคมเท่ากับ 59.90 (SD = 4.22) และ 61.04 (SD = 3.62) ตามลำดับ ความอ่อนล้าของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สองอยู่ในระดับต่ำและไตรมาสที่สามอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความอ่อนล้าเท่ากับ 56.71 (SD =12.74) และ 65.47 (SD = 10.48) ตามลำดับ คุณภาพการนอนหลับและการสนับสนุนทางสังคมของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทั้งไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามมีความสัมพันธ์ทางลบกับความอ่อนล้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.58, -.80, p < .01 และ r = -.51, -.25, p < .01 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามระดับน้ำตาลในเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับความอ่อนล้า ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับ การสนับสนุนทางสังคม และความอ่อนล้าในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันความอ่อนล้าในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่อไป Diabetes mellitus is a complication in pregnant women. Physiological, psychological and lifestyle changes can cause fatigue which then affect the pregnant women and their fetus. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore factors related to fatigue among gestational diabetic women. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 84 gestational diabetic women who attended the antenatal care unit at Suratthani hospital from April to December 2016. The research instruments were the blood sugar recording form, The Pittsburgh Sleep Quality Index developed by Buysee, Reynolds, Monk, Berman, & Kupfer (1989) which was translated into Thai by Jirapramukpitak & Tanchaisawad (1997), The Social Support Behavior Inventory developed by Boontup (1991) which was adapted from Brown's questionnaire (1986), and The Modified Fatigue Symptoms developed by Pugh, Milligan, Parks, Lenz, & Kitzman (1999) which was translated into Thai by Theerakulchai (2004). Data were analyzed using descriptive statistics and the Spearman rank correlation coefficient. The research study revealed that: Blood sugar level of gestational diabetic women in the second and the third trimester were at a normal level, the average of blood sugar levels were 91.21 (SD = 9.25) and 91.05 (SD = 8.29) respectively. Sleep quality of gestational diabetic women in the second and the third trimester were at a poor level, the average scores of sleep quality were 13.69 (SD = 1.13) and 14.23 (SD = 1.37) respectively. Social support of gestational diabetic women in the second and the third trimester were at a high level, the average scores of social support were 59.90 (SD = 4.22) and 61.04 (SD = 3.62) respectively. Fatigue of gestational diabetic women in the second trimester was at a low level and in the third trimester, it was at a moderate level, the average scores of fatigue were 56.71 (SD = 12.74) and 65.47 (SD = 10.48) respectively. Sleep quality and social support of gestational diabetic women in the second and the third trimester were negatively statistically significant correlated with fatigue (r = -.58, -.80, p < .01 and r = -.51, -.25, p < .01 respectively). However, there was no statistically significant correlation between blood sugar level and fatigue. The results of this study provide baseline data about sleep quality, social support, and fatigue in gestational diabetic women. It could be used by nurse-midwives in planning to prevent fatigue among gestational diabetic women.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241806/164595
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68773
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.