Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัชนีวรรณ จารุเลิศพงศ์en_US
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 180-190en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241805/164594en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68771-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความวิตกกังวลของผู้เป็นบิดาครั้งแรกขณะที่ภรรยาอยู่ในระยะคลอด พบได้ในผู้เป็นบิดาทุกคนและมักจะถูกมองข้าม เพราะส่วนใหญ่ทุกคนจะมุ่งความสนใจไปที่ผู้เป็นมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลของผู้เป็นบิดาครั้งแรกขณะที่ภรรยาอยู่ในระยะคลอด และความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม และอายุของผู้เป็นบิดา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นบิดาครั้งแรกที่ภรรยาเข้าสู่ระยะคลอด โดยมาส่งภรรยาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 85 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความวิตกกังวล ชุดวาย ของ Spielberger (1983)ฉบับแปลเป็นภาษาไทยโดย Nontasak, Iamsupasit & Thapinta (1995) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้เป็นบิดาในระยะคลอด ที่รัชนีวรรณ จารุเลิศพงศ์ และ นันทพร แสนศิริพันธ์ สร้างขึ้นจากแนวคิดของ House (1981) และการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.30 โดยมีคะแนน ความวิตกกังวลเฉลี่ย 43.29 (S.D. = 6.07) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก ร้อยละ 62.35 โดยมีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยเฉลี่ย 3.80 คะแนน (S.D. = .49) กลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วง 20-25 ปี ร้อยละ 34.20 รองลงมาอยู่ในช่วง 26-30 ปี ร้อยละ 29.40 มีอายุเฉลี่ย 28.51 (S.D. = 5.95) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบ กับความวิตกกังวลของผู้เป็นบิดาครั้งแรก ขณะที่ภรรยาอยู่ในระยะคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.274, p < .05) ขณะที่อายุของผู้เป็นบิดาครั้งแรกไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล First-time fathers usually experience anxiety while their wives are in labour. It is often overlooked because most people pay attention to the mothers. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore the anxiety of first-time fathers during their wife’s labour and other related factors. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 85 fathers who brought their wives to the labour room at Chiang Mai Health Promoting Hospital from August to October 2015. The research tools were the State-Trait Anxiety Inventory [STAI] form Y-1 by Spielberger (1983), Thai version by Nontasak, Iamsupasit & Thapinta (1995) and the Fathers Social Support Questionnaire developed by Ratchaneewan Charuloedphong and Nantaporn Sansiriphun based on the social support concept by House (1981) and literature reviewed. Descriptive statistics and Pearson’s Product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that: Most subjects had moderate level of anxiety (68.30%) while the mean score for anxiety was 43.29 (S.D. = 6.07); Most subjects (62.35%) received a high level of social support while the mean score for social support was 3.80 (S.D. = .49); The subjects (34.20%) were of the ages 20 – 25 years old and 26 – 30 years old (29.40%). The mean age was 28.51 (S.D. = 5.95); and Social support had a negative correlation with the anxiety of first-time fathers during the childbirth labour of their wives (r = -.274, p < .05) while there was no correlation between the first-time fathers’ age and their level of anxiety. These finding suggest that first-time fathers should be assessed for anxiety. Nurses and midwives should develop strategies to decrease the anxiety of the father while their wives are in labour by providing support which meets the needs of the fathers.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอายุของผู้เป็นบิดาen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectผู้เป็นบิดาครั้งแรกen_US
dc.subjectระยะคลอดen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลของผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะคลอดen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Anxiety of First-time Fathers During Labouren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.