Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68762
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.contributor.authorรุจาธร อินทรตุลen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:28Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:28Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 50-63en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241797/164585en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68762-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมการทำงานและวิถีชีวิตเป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพหนึ่งที่สำคัญมีผลต่อภาวะสุขภาพของคนทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานและวิถีชีวิตของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 339 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .99 และทดสอบความเชื่อมั่นทั้งในส่วนพฤติกรรมการทำงานและวิถีชีวิตได้ค่าในระดับที่ยอมรับได้ เท่ากับ 0.80 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.2 มีพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย (การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามหลักการทำงานที่ปลอดภัย) อยู่ในระดับปานกลาง มีเพียง ร้อยละ 16.81 มีพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสาม (ร้อยละ 63.72) มีวิถีชีวิตที่ปลอดภัย (การบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย การพักผ่อนและนอนหลับ และการไม่ใช้สารเสพติด) อยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 17.99 ที่มีวิถีชีวิตที่ปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ทีมบุคลากรทางสุขภาพควรตระหนักถึงความสำคัญและดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพตามความเสี่ยงของเกษตรกรปลูกข้าวโพดอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม จัดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและวิถีชิวิตเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากการทำงาน ก่อให้เกิดการทำงานที่ปลอดภัยส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี Working behaviors and lifestyle are the significance health determinants affecting the health status of workers. This descriptive study aimed to examine working behaviors and lifestyles among 339 corn farmers working in Chiang Mai province, chosen through purposive sampling. Data collection was conducted using the interview form which were developed from literature review. A panel of experts confirmed the content validity of the instrument, which received a content validity index of 0.99. The reliability was also tested and found to be acceptable, with working behaviors and lifestyle receiving scores of 0.80 and 0.94 respectively. Data analysis was performed using descriptive statistics. The findings showed that 65.2 percent of the sample performed safe working behaviors (use of personal protective equipment, and safety work practices) at a medium level; only 16.81 percent was at a high level. In addition, nearly two thirds (63.72%) of the sample performed a safe lifestyle (food consumption, physical activity, rest and sleep, and non-drug use) are at a medium level; 17.99 percent was found at a high level The results of this study indicated that healthcare provider team should recognize the significance of health risk surveillance among corn farmers. Such surveillance should be implemented systematically and continuously. Also, healthcare provider team should operate with environmental surveillance and disseminate health information to corn farmers. Furthermore, health risk communication contributing to modified working behavior and lifestyle needs to be managed in order to reduce occupational risk. This will result in a higher level of safety and quality of life among these corn farmers.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมการทำงานen_US
dc.subjectวิถีชีวิตen_US
dc.subjectเกษตรกรปลูกข้าวโพดen_US
dc.subjectแรงงานนอกระบบen_US
dc.titleพฤติกรรมการทำงานและวิถีชีวิตของแรงงานนอกระบบ: เกษตรกรปลูกข้าวโพดen_US
dc.title.alternativeWorking Behaviors and Lifestyle Among Informal Workers: Corn Farmersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.