Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67489
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorหยาดพิรุณ เสาร์เป็งen_US
dc.contributor.authorอุษณีย์ จินตะเวชen_US
dc.contributor.authorจุฑามาศ โชติบางen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 13-24en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229931/156503en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67489-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดต้องมีความรับผิดชอบและความละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกว่าการดูแลเด็กป่วยมีความยากลำบาก และเป็นภาระในการดูแล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ได้แก่ สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้แนวคิดภาระการดูแลของ Chou (2000) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในภาคเหนือ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคมพ.ศ. 2559 จำนวน 85 ราย และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล และเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด แบบวัดภาระของผู้ดูแล แบบวัดสมรรถนะแห่งตนในการดูแล และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88 .99 และ .93 ตามลำดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและแบบสเปียร์แมนผลการวิจัยมีดังนี้ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีภาระในการดูแลอยู่ในระดับน้อย สมรรถนะแห่งตนในการดูแลและสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .01 , r = -.38, p < .01) ตามล�าดับ ผลการวิจัยในครั้งนี้ช่วยให้บุคลากรทางการพยาบาลมีข้อมูลพื้นฐานในการวางแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้การสนับสนุนทางสังคม และส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเพื่อลดภาระของผู้ดูแลและสามารถให้การดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen_US
dc.subjectปัจจัยที่เกี่ยวข้องen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Caregiver Burden of Children with Congenital Heart Disease After Open Heart Surgeryen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.