Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67486
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุen_US
dc.contributor.authorนพมาศ ศรีเพชรวรรณดีen_US
dc.contributor.authorอนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 25-36en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229939/156507en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67486-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractกลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้าเป็นกลุ่มด้อยโอกาสขาดการเรียนรู้การทำงานที่ปลอดภัยและการเข้าถึงระบบบริการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า ผู้ร่วมวิจัย คือ แกนนำแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า 11 ราย พยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพคนทำงาน และแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า 78 ราย การวิจัยดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) การสร้างความตระหนักสู่การแก้ไขปัญหาจากการทำงาน 2) การร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาเพื่อการทำงานที่ปลอดภัย3) การดำเนินการแก้ไขปัญหาและการประเมินผล รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์พฤติกรรมการทำงานที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ แบบวัดความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและแบบวัดความเจ็บปวด รวมทั้งการสนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงจากการทำงาน ประกอบด้วย 1) การจัดอบรมเชิงปฏิสัมพันธ์ สร้างศักยภาพแกนนำฯ ให้ทักษะการสื่อสารความเสี่ยงและการยืดกล้ามเนื้อ 2) การร่วมพัฒนาสื่อเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานตัดเย็บผ้า หลักการทำงานตัดเย็บผ้าที่ปลอดภัย และการยืดกล้ามเนื้อ การประเมินผลในระยะ 2 และ 3 เดือนหลังการแก้ไขปัญหา พบว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้ามีการปรับพฤติกรรมการทำงานโดยค่ามัธยฐานของพฤติกรรมการทำงาน ที่ปลอดภัยก่อนและหลังการแก้ไขปัญหา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่ระดับอาการปวดกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การลดความเสี่ยงจากการทำงานและการเสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสถานบริการสุขภาพและการศึกษา รวมทั้ง แกนนำคนทำงาน เพื่อสร้างความเป็น ‘เจ้าของ’ และ ‘หุ้นส่วน’ การทำงานร่วมกัน ร่วมกับการสร้างศักยภาพของแกนนำแรงงานผ่านการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยตามหลักการแก้ไขปัญหา ‘โดยคนทำงาน’ และ ‘เพื่อคนทำงาน’en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้าen_US
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมen_US
dc.titleการสร้างเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยงจากการทำงานกลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า: การวิจัยแบบมีส่วนร่วมen_US
dc.title.alternativeHealth Promotion and Occupational Risk Reduction among Informal Garment Workers: Participatory Action Researchen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.