Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67481
Title: ผลของระยะเวลาก่อนการฉายแสงต่อกำลังยึดของเรซินโมดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ภายใต้สภาวะจำลองแรงดันในโพรงเนื้อเยื่อใน
Other Titles: Effect of Waiting Interval Before Light Curing on Bond Strength of Resin Modified Glass Ionomer Cement Under Simulated Pulp Pressure
Authors: พรรณทิพา บุตรดา
ทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพร
อรณิชา ธนัทวรากรณ์
สุมนา จิตติเดชารักษ์
Authors: พรรณทิพา บุตรดา
ทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพร
อรณิชา ธนัทวรากรณ์
สุมนา จิตติเดชารักษ์
Keywords: เรซินโมดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์;เวลา ก่อนการฉายแสง;สภาวะแรงดันในโพรงเนื้อเยื่อใน;กำลังยึดแบบดึงระดับจุลภาค
Issue Date: 2562
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 113-125
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของระยะเวลาเมื่อเรซินโมดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์สัมผัสกับเนื้อฟันก่อนการฉายแสงต่อกำลังยึดภายใต้สภาวะจำลองแรงดันในโพรงเนื้อเยื่อใน วิธีการวิจัย: ฟันกรามถาวรซี่ที่สามจำนวน 90 ซี่ ตัดเคลือบฟันด้านบดเคี้ยวออกจนถึงเนื้อฟัน ตัดปลายรากฟันและนำเนื้อเยื่อในออก ยึดชิ้นส่วนของฟันเข้ากับเครื่องจำลองความดันในโพรงเนื้อเยื่อในที่ 15 เซนติเมตรน้ำ แบ่งฟันตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามวัสดุที่ใช้บูรณะคือฟูจิทูแอลซีและวิทรีบอนด์พลัส จากนั้นแบ่งแต่ละกลุ่มใหญ่ออกเป็น 5 กลุ่มย่อย ตามระยะเวลาที่วัสดุสัมผัสเนื้อฟันก่อนฉายแสง ดังนี้ ฉายแสงทันที รอ 1, 2, 3 หรือ 4 นาทีภายหลังสัมผัสเนื้อฟัน นำฟันตัวอย่างที่ผ่านการบูรณะมาตัดเป็นชิ้นงานรูปแท่งโดยมีพื้นที่หน้าตัดบริเวณรอยต่อระหว่างเนื้อฟันและวัสดุบูรณะ 1 ตารางมิลลิเมตร ทดสอบกำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบวัสดุเอนกประสงค์ที่ความเร็ว 1 มิลลิเมตรต่อนาที นำชิ้นงานส่วนฟันที่แตกมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดเพื่อจำแนกลักษณะความล้มเหลว วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยกำลังยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคโดยใช้สถิติความแปรปรวนแบบทางเดียวและสถิติเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิด ดันแคนและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างวัสดุที่ระยะเวลาก่อนการฉายแสงเดียวกันด้วยสถิติทีอิสระที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา:ระยะเวลาที่วัสดุสัมผัสกับเนื้อฟันก่อนการฉายแสงมีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยกำลังยึดแบบดึงระดับจุลภาคทั้งวัสดุวิทรีบอนด์พลัส (p<0.001) และฟูจิทูแอลซี (p=0.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวัสดุวิทรีบอนด์พลัสเมื่อฉายแสงภายหลังสัมผัสเนื้อฟัน 2 และ 3 นาที ให้ค่ากำลังยึดแบบดึงระดับจุลภาคสูงสุด ส่วนวัสดุฟูจิทูแอลซีให้ค่าสูงสุดเมื่อฉายแสงภายหลังสัมผัสเนื้อฟันทันที รอ 1 และ 2 นาที ลักษณะความล้มเหลวพบว่าวัสดุวิทรีบอนด์ พลัสมีความล้มเหลวระหว่างชั้นเนื้อฟันและวัสดุมากกว่าวัสดุฟูจิทูแอลซีอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: ระยะเวลาที่เหมาะสมที่วัสดุแต่ละชนิดสัมผัสกับเนื้อฟันก่อนการฉายแสงแตกต่างกัน สำหรับวัสดุวิทรีบอนด์พลัสควรฉายแสงภายหลังวัสดุสัมผัสเนื้อฟันแล้ว นาน 2 ถึง 3 นาที ส่วนวัสดุฟูจิทูแอลซีควรฉายแสงทันทีหรือไม่เกิน 2 นาทีภายหลังวัสดุสัมผัสเนื้อฟัน
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_479.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67481
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.