Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิโยรส สุธีรพงศ์พันธ์en_US
dc.contributor.authorธีระวัฒน์ โชติกเสถียรen_US
dc.contributor.authorอภิรุม จันทน์หอมen_US
dc.contributor.authorธนพรรณ วัฒนชัยen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 85-94en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_477.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67477-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความหนาของกระดูกทึบเพดานปากในผู้ป่วยไทยที่สบฟันเปิดบริเวณฟันหน้าและมีโครงขากรรไกรแนวดิ่งแบบสบเปิดโดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี วัสดุและวิธีการ: ภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีของผู้ป่วยไทย (อายุ 15-30 ปี) ที่มีการสบฟันผิดปกติแบบที่หนึ่งร่วมกับสบฟันเปิดบริเวณฟันหน้าและ มีโครงขากรรไกรแนวดิ่งแบบสบเปิด จำนวน 15 รายถูกนำมาวัดความหนาของกระดูกทึบเพดานปากบริเวณตำแหน่งซึ่งห่างจากจุดกึ่งกลางขอบกระดูกด้านท้ายของรูหลังฟันตัดไปทางด้านหลังในระยะทุก ๆ 3 มิลลิเมตร และห่างจากระนาบแบ่งครึ่งซ้ายขวาไปทางด้านซ้ายและขวาในระยะทุก ๆ 3 มิลลิเมตร ผลการศึกษา: กระดูกทึบเพดานปากมีความหนาตั้งแต่ 1.27±0.40 ถึง 2.90±0.63 มิลลิเมตร โดยทุกตำแหน่งมีความหนาเท่ากับหรือมากกว่า 1 มิลลิเมตร บทสรุป: การศึกษาโดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี พบว่าความหนาของกระดูกทึบเพดานปากมีความแปรปรวน และกระดูกทึบเพดานปากในทุกตำแหน่งของผู้ป่วยที่สบฟันเปิดบริเวณฟันหน้าและมีโครงขากรรไกรแนวดิ่งแบบสบเปิดมีความหนาเพียงพอต่อเสถียรภาพปฐมภูมิในการฝังวัสดุฝังเกลียวขนาดเล็กบริเวณเพดานปากen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระดูกทึบen_US
dc.subjectเพดานปากen_US
dc.subjectสบฟันเปิดen_US
dc.subjectโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีen_US
dc.titleความหนาของกระดูกทึบเพดานปากในผู้ป่วยไทยที่มีโครงขากรรไกรแนวดิ่งแบบสบเปิดโดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีen_US
dc.title.alternativePalatal Cortical Bone Thickness in Thai Patients with Open Vertical Skeletal Configuration,Using Cone-beam Computed Tomographyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.