Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67474
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธิชารัตน์ ทรัพย์กมลดิษฐ์en_US
dc.contributor.authorสุวรรณี ตวงรัตนพันธ์en_US
dc.contributor.authorศศิธร ไชยประสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 91-102en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_488.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67474-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเข้าใจการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ดูแลหลักชาวมุสลิมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กในความดูแล และความเชื่อมโยงระหว่างการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งของผู้ดูแลหลัก การดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กในความดูแลและการเกิดฟันผุของเด็ก วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เป็นวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดตรังซึ่งเด็กมีอายุ 3-5 ปี และอยู่ในครอบครัวชาวมุสลิม มีการ คัดเลือก 2 ขั้นตอนคือการเก็บข้อมูลทั่วไปจากแบบสอบถามของผู้ดูแลหลักทั้งหมด 57 คน จากนั้นคัดเลือกกรณีศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจงโดยใช้เกณฑ์การจำแนกตามความแตกต่างของความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติในการดูแลเด็กที่จัดว่าดีและไม่ดีตามทัศนะของผู้ดูแลเด็ก การยินดีและสามารถให้ข้อมูลในเชิงลึกได้ ได้กรณีศึกษาจำนวน 7 ราย จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมที่บ้าน ร่วมกับการตรวจภาวะฟันผุของเด็กในความดูแลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษา: ในทัศนะของผู้ดูแลหลัก สุขภาพช่องปากเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสุขภาพโดยรวม จะได้รับความสำคัญต่อเมื่อเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ประจำวัน ส่วนการดูแลเด็กเมื่อมีปัญหาสุขภาพช่องปากพบว่ามีแนวโน้มว่าสอดคล้องกับรูปแบบการดูแลตนเองเมื่อมีปัญหาของผู้ดูแลหลัก โดยพฤติกรรมการดูแลพบว่าขึ้นอยู่กับการจัดสรรเวลาและทิศทางการดูแล เด็กที่ผู้ดูแลหลักมีการจัดสรรเวลาเพื่อการดูแล และเป็นไปในทิศทางที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพช่องปากที่ดี เด็กก็จะมีสุขภาพช่องปากที่ดี นอกจากนี้ยังพบว่า ความสะอาดในการอาบน้ำละหมาดของชาวมุสลิมมีความแตกต่างกับความสะอาดในทัศนะของทันตบุคลากรทั้งในแง่การให้ความหมายและการวัดผลความสะอาด บทสรุป: การดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของผู้ดูแลหลักชาวมุสลิมกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในความดูแลมีแนวโน้มที่สอดคล้องกัน สุขภาพช่องปากของ เด็กในครอบครัวชาวมุสลิมจะขึ้นอยู่กับการจัดสรรเวลาและทิศทางการดูแล โดยมีความเกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลไม่มากนักen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดูแลตนเองen_US
dc.subjectสุขภาพช่องปากen_US
dc.subjectผู้ดูแลหลักen_US
dc.subjectชาวมุสลิมen_US
dc.subjectสุขภาพช่องปากของเด็กen_US
dc.titleการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของผู้ดูแลหลักชาวมุสลิมและการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กในความดูแลวัย 3-5 ปี ที่ชุมชนมุสลิมแห่งหนึ่งในจังหวัดตรังen_US
dc.title.alternativeOral Self-Care of Muslim Primary Caregivers and Care of Their Children’s Oral Health Aged 3-5 Years Old in a Muslim Community, Trang Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.