Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67468
Title: ประสิทธิผลของสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี ในตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Effectiveness of Individual Media on Tooth-brushing Skill Among Parents of Children Aged 3-5 Year-old in Khuamung Subdistrict, Saraphi District, Chiang Mai Province
Authors: กษมา ปทุมสูติ
ปิยะนารถ จาติเกตุ
อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์
Authors: กษมา ปทุมสูติ
ปิยะนารถ จาติเกตุ
อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์
Keywords: สื่อเฉพาะบุคคล;ทักษะการแปรงฟัน;โรคฟันผุ ในเด็กปฐมวัย;ผู้ปกครอง;การเยี่ยมบ้าน
Issue Date: 2562
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 103-118
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองกลุ่มเด็กอายุ3-5 ปี และทดสอบประสิทธิผลของสื่อที่พัฒนาขึ้น วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนโดยขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครอง และขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นทดลองเปรียบเทียบทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองระหว่างกลุ่มที่ได้รับสื่อกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ และเปรียบเทียบอนามัยช่องปากของเด็กทั้ง 2 กลุ่มจากการวัดค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันที่ผลิตขึ้น ทำการเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึงมิถุนายน 2559 โดยจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 12 คู่เท่ากันด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากข้อมูลค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ของเด็ก โดยผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับทันตสุขศึกษาเรื่องฟันผุในเด็กปฐมวัยและการป้องกัน รวมทั้งได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันโดยทันตแพทย์ผ่านการเยี่ยมบ้านแต่ผู้ปกครองในกลุ่มทดลองจะได้รับสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันร่วมด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อสื่อใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองโดยใช้สถิติการทดสอบของแมคนีมาร์และการทดสอบเพียร์สันไคสแควร์ และการเปรียบเทียบข้อมูลดัชนีคราบจุลินทรีย์ในเด็กโดยใช้สถิติการทดสอบแบบที ผลการศึกษา: ในขั้นตอนการพัฒนาสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครอง ได้สื่อโปสเตอร์ที่อาศัยแนวคิดการผลิตแบบ Mass customization เน้นความอบอุ่นและการมีส่วนร่วมภายในครอบครัวมีขั้นตอนการแปรงฟันโดยสรุปสั้น ๆ และรูปภาพประกอบเป็นผู้ปกครองและเด็กในขณะได้รับการฝึกแปรงฟันโดยทันตแพทย์ ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิผลของสื่อเฉพาะบุคคลที่ผลิตขึ้น พบว่าผู้ปกครองในกลุ่มทดลองมีทักษะการแปรงฟันโดยรวมในส่วนการวางแปรงได้ถูกตำแหน่งและการขยับแปรงถูกลักษณะได้ดีขึ้นมากกว่าผู้ปกครองกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในทุกตำแหน่งของช่องปากยกเว้นด้านบดเคี้ยวของฟัน เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องก่อนการฝึกปฏิบัติ รวมทั้งค่าความแตกต่างของคะแนนคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยของเด็กก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองมีค่าความแตกต่างมากกว่า ในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.007) เช่นกันส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อสื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันที่ผลิตขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก บทสรุป: การใช้สื่อเฉพาะบุคคลเพื่อการส่งเสริมทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครอง ภายหลังการฝึกปฏิบัติการแปรงฟันร่วมกับทันตแพทย์ที่บ้าน ช่วยส่งเสริมให้ทักษะการแปรงฟันของผู้ปกครองและอนามัยช่องปากของเด็กดีขึ้น
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_489.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67468
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.