Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67463
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ สมดีen_US
dc.contributor.authorพัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 91-102en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_498.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67463-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการปรับสภาพพื้นผิวพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนด้วยกรดซัลฟูริกความเข้มข้นร้อยละ 90 ต่อความแข็งผิวระดับจุลภาคและ ลักษณะจุลสัณฐานวิทยาระเบียบและวิธีการวิจัย: เตรียมชิ้นงานพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนขนาด 5x5x2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร จำนวน48 ชิ้น ด้วยเครื่องไอโซเมท ยึดชิ้นงานในแบบหล่อโลหะรูปวงแหวนด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มเอง ทำการขัดชิ้นงานด้วยเครื่องขัดกระดาษทรายน�้ำความละเอียด 400 800 1,200 และ 2,000 กริต ตามลำดับ แบ่งชิ้นงานเป็น 6 กลุ่มกลุ่มละ 8 ชิ้น ตามระยะเวลาที่ใช้ในการปรับสภาพพื้นผิว ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่ท�ำการปรับสภาพพื้นผิว กลุ่มปรับสภาพพื้นผิวเป็นเวลา 30 60 90 120 และ 300 วินาทีตามลำดับ ทดสอบความแข็งผิววิกเกอร์ระดับจุลภาคและวิเคราะห์ลักษณะจุลสัณฐานวิทยาของพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยความแปรปรวนแบบทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) ผลการศึกษา: ค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคในกลุ่มปรับสภาพพื้นผิวที่ระยะเวลา 300 วินาที มีค่าต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 12.51 เมกะปาสคาล กลุ่มปรับสภาพพื้นผิวที่ระยะเวลา 90 และ 120 วินาที มีค่าของความแข็งผิวระดับจุลภาคเท่ากับ 21.76 และ 19.59เมกะปาสคาลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มปรับสภาพพื้นผิวที่ระยะเวลา 30 และ 60 วินาที มีค่าความแข็งผิวระดับจุลภาคเท่ากับ 25.42 และ 24.06 เมกะปาสคาลโดยไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ลักษณะจุลสัณฐาณวิทยาพื้นผิวพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนเมื่อทำการปรับสภาพพื้นผิวที่ระยะเวลาต่าง ๆ พบลักษณะพื้นผิวไม่เรียบ มีหลุมและรูพรุนกระจายทั่วไป โดยที่ขนาดและจำนวนรูพรุนเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาปรับสภาพพื้นผิวที่นานขึ้น สรุปผลการศึกษา: การปรับสภาพพื้นผิวด้วยกรดซัลฟูริกความเข้มข้นร้อยละ 90 ที่ใช้ระยะเวลานานกว่า 60 วินาที ส่งผลต่อความแข็งแรงพื้นผิวของพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตน โดยพบค่าความแข็งผิววิกเกอร์ต่ำสุดในกลุ่มปรับสภาพพื้นผิวนาน 300 วินาทีen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความแข็งผิวระดับจุลภาคen_US
dc.subjectลักษณะจุลสัณฐาน วิทยาen_US
dc.subjectกรดซัลฟูริกen_US
dc.subjectพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนen_US
dc.titleผลของระยะเวลาการปรับสภาพพื้นผิวพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตนด้วยกรดซัลฟูริก ต่อความแข็งผิวระดับจุลภาคและลักษณะจุลสัณฐานวิทยาen_US
dc.title.alternativeEffects of Sulfuric Acid Surface Pretreatment Duration on Microhardness and Microscopic Morphology of Polyetheretherketoneen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.