Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67455
Title: ประสิทธิภาพของเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีฟันมนุษย์
Other Titles: In Vitro Efficacy of Rice Gel as Bleaching Carrier on Color Alteration of Human Tooth
Authors: ณัฐชัย จรัสพันธุ์กุล
มาริสา สุขพัทธี
ชวนชม ศิริสุวัฒน์
พาฝัน ลาวัลย์ตระกูล
ธนพัฒน์ ศาสตระรุจิ
อัจฉรียา แก้วปินตา
ศิริพร โอโกโนกิ
สาครรัตน์ คงขุนเทียน
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Authors: ณัฐชัย จรัสพันธุ์กุล
มาริสา สุขพัทธี
ชวนชม ศิริสุวัฒน์
พาฝัน ลาวัลย์ตระกูล
ธนพัฒน์ ศาสตระรุจิ
อัจฉรียา แก้วปินตา
ศิริพร โอโกโนกิ
สาครรัตน์ คงขุนเทียน
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Keywords: เจลฟอกสีฟัน;คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์;การเปลี่ยนแปลงส;เจลข้าว;การฟอกสีฟัน
Issue Date: 2562
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 59-69
Abstract: วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลของเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีฟันมนุษย์เปรียบเทียบกับเจลฟอกสีฟันทางการค้าวัสดุและวิธีการ: แบ่งชิ้นตัวอย่างฟันมนุษย์จำนวน60 ชิ้น ออกเป็น 6 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ชิ้น) วัดสีชิ้นทดสอบทั้งก่อนและหลังการฟอกสีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ด้วยเครื่องวัดและเทียบสีโดยใช้เจลฟอกสีฟันทางการค้ากลุ่มคาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 10 20 และ 35 เปรียบเทียบกับเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 20 ซึ่งมีระยะเวลาในการแช่ชิ้นทดสอบเป็นเวลา 8 ชั่วโมงในกลุ่มที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 เวลา 4 ชั่วโมงในกลุ่มที่มีความเข้มข้นร้อยละ 20 ตามคำแนะนำที่บริษัทกำหนดและ 8 ชั่วโมงในกลุ่มเจลข้าวที่ไม่มีสารฟอกสีฟันที่กำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุมผลลบ ในขณะที่กลุ่มที่แช่ในคาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ทางการค้าความเข้มข้นร้อยละ 35 เป็นเวลา 1 ชั่วโมงกำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุมผลบวก ชิ้นทดสอบทุกชิ้นเก็บในความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสค่าสีที่เปลี่ยนแปลงไปถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสถิติชนิดความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีแทมแฮนที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา: เจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีความเข้มข้นร้อยละ10 มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนของสีที่เปลี่ยนแปลงไปเท่ากับ 15.17±1.51 ตามด้วยคาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 35 ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมผลบวก (12.67±2.39) โดยกลุ่มควบคุมผลลบมีค่าการเปลี่ยนแปลงสีน้อยที่สุด (2.13±0.89) ในขณะที่กลุ่มทดสอบอื่น ๆ มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสีใกล้เคียงกัน(11.14±4.37 – 10.98±3.51) สรุป: เจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันและเจลฟอกสีฟันทางการค้ามีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสีใกล้เคียงกัน โดยเจลข้าวผสมสารฟอกสีฟันที่มีคาร์บาไมด์เพอร์ ออกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 10 มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสีสูงที่สุดแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มทดสอบอื่น ๆ
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_495.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67455
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.