Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67435
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธิศา ล่ามช้างen_US
dc.contributor.authorฐิติมา สุขเลิศตระกูลen_US
dc.contributor.authorอรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุลen_US
dc.contributor.authorปรีชา ล่ามช้างen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) 75-86en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136161/101618en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67435-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการป่วยเฉียบพลันในเด็กเป็นประสบการณ์ที่เครียดสำหรับผู้ดูแล การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเด็กคือ อายุ โรค การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยด้านผู้ดูแลคือ ประสบการณ์การดูแลเด็กป่วย การได้รับการสนับสนุนจากพยาบาล กับการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันอายุ 1 เดือน ถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2560 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยในเด็กของผู้ดูแลของ เนลสัน และคณะ (Nelson et al., 2016) และแบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดา (The Nurse Parent Support Tool) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการศึกษาพบว่า1. การรับรู้ความเจ็บป่วยในเด็กของผู้ดูแลโดยรวมพบว่ามีการคุกคามอยู่ในระดับปานกลาง ( x_= 3.65 S.D. = 0.53). การรับรู้ความเจ็บป่วยในเด็กของผู้ดูแลในรายด้านคือ ด้านเอกลักษณ์ ผลที่ตามมาต่อเด็ก การควบคุมด้านเด็ก และการแสดงออกด้านอารมณ์ อยู่ในระดับมาก ( x_= 4.07 S.D. = 0.69, x_ = 3.76 S.D. = 0.81, x_ = 4.15 S.D. = 0.59, and x_= 4.05 S.D. = 0.67 ตามลำดับ) และด้านผลที่ตามมาต่อผู้ดูแล การควบคุมด้านผู้ดูแล ช่วงระยะเวลา และความเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย อยู่ในระดับปานกลาง ( x_= 3.49 S.D. = 0.84, x_= 3.47 S.D. = 0.74, x_= 2.89 S.D. = 0.84, x_= 3.39 S.D. = 0.76 ตามลำดับ)2. อายุของเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้ความเจ็บป่วยของผู้ดูแลในด้านผลที่ตามมาต่อเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.22, p< .05) ความถี่ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการควบคุมด้านเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.22, p< .05) และโรคของเด็กมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับการรับรู้ความเจ็บป่วยของผู้ดูแลในด้านความเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= - .23, p < .05 ) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันมีการรับรู้ความเจ็บป่วยในเด็กว่าคุกคามตั้งแต่ระดับปานกลางถึงมาก ปัจจัยด้านเด็กคือ อายุ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และโรคมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเจ็บป่วย ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ดูแลมีการรับรู้ความเจ็บป่วยอย่างเหมาะสมen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectเด็กen_US
dc.subjectการป่วยเฉียบพลันen_US
dc.titleการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องen_US
dc.title.alternativePerception of Illness Among Caregivers of Children with Acute Illness and Related Factorsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.