Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67422
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรพิมล ชัยสาen_US
dc.contributor.authorพิกุล พรพิบูลย์en_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิทธิสมบัติen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 49-57en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218502/151339en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67422-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ป่วยโรคมะเร็งอาจต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ ที่ผ่านมามีการศึกษาวิธีการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง แต่การศึกษาเรื่องการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็งยังพบได้น้อย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 34 รายที่ มารับบริการในโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 17 ราย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการทบทวนชีวิต และกลุ่มควบคุมจำนวน 17 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามปกติ วิธีการส่งเสริมการทบทวนชีวิตพัฒนาโดยผู้วิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างสัมพันธภาพ 2) การทบทวนชีวิตเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต และ 3) สรุปผลการทบทวนชีวิต ผลของการส่งเสริมการทบทวนชีวิตประเมินจากความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยใช้แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้เจ็บป่วยเรื้อรังของ (Cella, 2010) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ภายหลังจากการทบทวนชีวิตกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณภายหลังการส่งเสริมการทบทวนชีวิตมากกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการทบทวนชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)ผลการศึกษานี้สามารถยืนยันถึงประสิทธิผลของวิธีการส่งเสริมการทบทวนชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็ง วิธีการนี้ควรนำไปใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกเพื่อเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การทำวิจัยครั้งต่อไปควรจะทำในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นและควรมีการศึกษาในระยะยาว เพื่อดูความยั่งยืนของผลที่ได้รับen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการทบทวนชีวิตen_US
dc.subjectความผาสุกทางจิตวิญญาณen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคมะเร็งen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็งen_US
dc.title.alternativeEffect of Promoting Life Review on Spiritual Well-Being Among Cancer Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.