Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67419
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิชรา บุสษาen_US
dc.contributor.authorพิกุล พรพิบูลย์en_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิทธิสมบัติen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 38-48en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218499/151337en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67419-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการทำหนังสือแสดงเจตนาเป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถบอกผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ทราบถึงความปรารถนาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตน เอกสารดังกล่าวนี้ระบุถึงการตัดสินใจด้านการรักษาทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพในวาระท้ายของชีวิตเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ความรู้และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลมีความสำคัญในการใช้เอกสารการดูแลล่วงหน้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่ออธิบายความรู้และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิต ผู้ร่วมการศึกษาประกอบด้วยแพทย์ จำนวน 209 คนและพยาบาล จำนวน 316 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิต และ 3) แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิต แบบสอบถามทั้งหมดสร้างโดยผู้วิจัยตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 และการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า1. กลุ่มตัวอย่างแพทย์จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52.15) มีความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิตในระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 36.85 มีความรู้ระดับปานกลาง2. กลุ่มตัวอย่างพยาบาลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.10) มีความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิตในระดับสูง ในขณะที่ร้อยละ 25.30 มีความรู้ระดับปานกลาง 3. กลุ่มตัวอย่างแพทย์จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 55.50) มีทัศนคติเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิตในระดับปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 44.50 มีทัศนคติระดับสูง 4. กลุ่มตัวอย่างพยาบาลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.66) มีทัศนคติเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระท้ายของชีวิตในระดับปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 37.34 มีทัศนคติระดับสูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาสำหรับวาระท้ายต่อไป ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้แนะถึงความต้องการวิธีการในการส่งเสริมความรู้และทัศนคติของบุคลากรด้านสุขภาพ การวิจัยครั้งต่อไปควรทำเพื่อแสวงหาวิธีการที่มีประสิทธิผลในการส่งเสริมความรู้และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคำสั่งล่วงหen_US
dc.subjectหนังสือแสดงเจตนen_US
dc.subjectการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.titleความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าสำหรับการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตของแพทย์และพยาบาลen_US
dc.title.alternativeKnowledge and Attitude Regarding Advance Directives for End of Life Care Among Physicians and Nursesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.