Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67283
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรดา ถนอมรัตน์en_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 118-133en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135620/101340en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67283-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractสภาพการทำงานในกิจการขนาดเล็กที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของคนงานเคาะพ่นสีรถยนต์ในกิจการขนาดเล็ก จำนวน 352 คน ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ ประกอบด้วย ท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการทำงาน เช่น ก้ม/เงยศีรษะเป็นประจำ (ร้อยละ 87.50) และท่าทางการทำงานซ้ำๆ เช่น ยกแขนเหนือระดับไหล่ซ้ำๆ (ร้อยละ 59.66) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี ได้แก่ สัมผัสกลิ่นสารเคมี (ร้อยละ 78.98) ละอองสี (ร้อยละ 73.86) และตัวทำละลายที่อยู่ในสารเคมี (ร้อยละ 67.90) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านกายภาพ ได้แก่ ความสั่นสะเทือนและเสียงดัง (ร้อยละ 55.11) ส่วนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การทำงานกับเครื่องมืออุปกรณ์ของมีคม (ร้อยละ 49.43) สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในส่วนการเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ ปวดต้นคอ ไหล่ และหลัง (ร้อยละ 64.77) ชาอวัยวะต่างๆ (ร้อยละ 58.81) และระคายเคืองตา แสบตา คันตา (ร้อยละ 45.45) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบเพียงร้อยละ 30.68 ด้วยสาเหตุจากวัตถุหนีบ/ดึงอวัยวะ (ร้อยละ 43.71) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานเพื่อป้องกันผลไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานจึงมีความสำคัญ การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพหรือลดความเสี่ยงกรณีปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานในกลุ่มคนงานเคาะพ่นสีรถยนต์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานen_US
dc.subjectภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงen_US
dc.subjectคนงานเคาะพ่นสีรถยนต์en_US
dc.titleปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของคนงานเคาะพ่นสีรถยนต์en_US
dc.title.alternativeOccupational Health Hazards and Health Status Related to Risk Among Workers in Auto Body Repair Shopsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.