Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67280
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนกวรรณ สังหรณ์en_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 134-144en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135628/101352en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67280-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่าการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและองค์การ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้กับพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้และพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพยาบาลวิชาชีพรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้กับพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคเหนือ จำนวน 384 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสอบถามส่วนบุคคล 2)แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกที่พัฒนาขึ้นโดยปาร์คเกอร์ และ คอลลินส์ (Parker & Collins, 2010)และแปลเป็นภาษาไทยโดยคณะผู้วิจัย 3)แบบสอบถามการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยไอเซนเบอร์เกอร์ และคณะ (Eisenberger, Huntington, Hutchison & Sowa, 1986) และแปลเป็นภาษาไทยโดยคณะผู้วิจัย แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกและแบบสอบถามการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ.89 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่าร้อยละ 76 ของกลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63 ของกลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่ามีพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกอยู่ในระดับปานกลาง และการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกโดยรวม (rs = .233, p < .01) โดยความสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้จากทฤษฎีการสนับสนุนขององค์การที่ว่าการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกว่าต้องทำการตอบแทนองค์การและปฏิบัติกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์การมากขึ้น ถึงแม้ว่ากิจกรรมนั้นจะอยู่นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาล ตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนจากองค์กร และเป็นแนวทางในการทำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพยาบาล รวมทั้งเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการจัดการในองค์การต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้en_US
dc.subjectพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก พยาบาลวิชาชีพen_US
dc.titleการสนับสนุนขององค์กรตามการรับรู้และพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกของพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativePerceived Organizational Support and Proactive Work Behavior Among Registered Nursesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.