Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67270
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐนรี อนุกูลวรรธกะen_US
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ อารีย์en_US
dc.contributor.authorสุธิศา ล่ามช้างen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 1-12en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135572/101295en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67270-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractอาการชักในเด็กส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็กและผู้ดูแล การปฏิบัติป้องกันของผู้ดูแลจะช่วยให้เด็กควบคุมอาการชักได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักของเด็กที่มีอาการชักอายุ 1 เดือน ถึง 6 ปี ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุ-เคราะห์ โรงพยาบาลลำปาง และโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 74 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรุนแรงของโรคตามการรับรู้ของผู้ดูแล แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันอาการชักในเด็กของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลมีคะแนนการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.26 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ดูแลมีคะแนนการปฏิบัติด้านการจัดการภาวะไข้ ด้านการใช้ยากันชักและติดตามการรักษา และด้านการดูแลกิจวัตรประจำวันทั่วไปอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.32, 22.70 และ 11.56 ตามลำดับ ส่วนด้านการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.24. ผู้ดูแลมีคะแนนการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.64 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.47, คะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.00 และคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 107.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 14.33 การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้ความรุนแรงของโรค มีความสามารถในการร่วมกันทำนายการปฏิบัติการป้องกันอาการชักในเด็กได้ร้อยละ 46.0 (R2 = .460, p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็ก และสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กของผู้ดูแลต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ดูแลเด็กที่มีอาการชัก การปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กen_US
dc.subjectการรับรู้ความรุนแรงของโรคen_US
dc.subjectการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลen_US
dc.titleปัจจัยทำนายการปฏิบัติป้องกันอาการชักในเด็กของผู้ดูแลen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Seizure Prevention Practices in Children Among Caregiversen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.