Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัชนี ชัยประเดิมศักดิ์en_US
dc.contributor.authorนันทพร พรธีระภัทรen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (2) (ธ.ค. 2560), 94-102en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169079/121658en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67266-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการตรวจวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนได้มีการวัดโดยใช้เครื่องมือจับค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนติดกับผิวหนัง แต่อาจเป็นสาเหตุในการทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง โดยเฉพาะในทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี จึงมีการพัฒนานวัตกรรมปลอกหุ้มสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน เพื่อใช้แทนพลาสเตอร์และสามารถบรรเทาแรงกดทับที่ผิวหนัง เรียกชื่อว่า แซนวิตแซต (Sandwich sat) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมปลอกหุ้มสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในผู้ป่วยทารก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตามการรับรู้ของพยาบาล ทั้ง 4 ด้านคือ 1) ด้านการใช้งาน 2) ด้านความปลอดภัย 3) ด้านรูปแบบนวัตกรรม 4) ด้านความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ประชากรที่ใช้เป็นทารก จำนวน 30 รายที่แผนกทารกแรกเกิด ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พยาบาลวิชาชีพผู้ประเมินประสิทธิผล 44 คน เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและทำ Focus group แบบมีแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงร่าง นำไปหาค่าความตรง Index of item objective congruence ได้ 0.88 ค่าความเที่ยงแบบ Inter – rater reliability ได้ 0.82 ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์เป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลทั้ง 4 ด้านของนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนภาพรวมด้านความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจสูงสุด (คะแนนเฉลี่ย 4.25 , SD = 0.48 ) ด้านรูปแบบนวัตกรรม (คะแนนเฉลี่ย 4.20 , SD = 0.63 ) ด้านความปลอดภัย (คะแนนเฉลี่ย 3.82 , SD = 0.76 ) และด้านการใช้งาน (คะแนนเฉลี่ย 3.15 , SD = 0.83 ) ผลจากการทำ Focus group กับพยาบาลพบว่า นวัตกรรมสามารถใช้งานได้ แต่มีอุปสรรคในการยึดกับตัวจับวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และสามารถเปื้อนง่าย ข้อเสนอแนะ นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถนำมาใช้แทนเทปพันยืดหยุ่น (Coban) ได้ และในอนาคตควรมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากเทปพันยืดหยุ่นโดยเพิ่มเทคโนโลยีวัสดุใหม่ เช่น กระดาษ ซิลิโคนen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปลอกหุ้มสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนen_US
dc.subjectทารกen_US
dc.subjectประสิทธิผลen_US
dc.titleประสิทธิผลของนวัตกรรมปลอกหุ้มสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกen_US
dc.title.alternativeThe effectiveness of innovative cover of oxygen saturation probe in infantsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.