Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67256
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนนทิกา กองมณีen_US
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 83-95en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148042/108985en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67256-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดา เป็นการกระทำกิจกรรมของบิดา ที่ทำให้เกิดผลดีต่อภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นบิดา ภรรยา และทารก การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ ผู้เป็นบิดาครั้งแรก ที่ภรรยาอยู่ในระยะ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 102 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพมหานคร และแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test – 20 [SPST – 20]) ที่สร้างขึ้นโดย สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา (2540) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของบิดาของ ศุภกร ไชยนา และนันทพร แสนศิริพันธ์ (2556) และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดา ที่สร้างโดย นนทิกา กองมณี นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง (2558) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 .85 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้เป็นบิดาครั้งแรกร้อยละ 1 มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด เท่ากับ 27.8 (S.D. = 11.74) 2.ผู้เป็นบิดาครั้งแรกร้อยละ 6 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยคะแนนการสนับสนุนทางสังคมเท่ากับ 3.75 (S.D. = .43 ) 3.ผู้เป็นบิดาครั้งแรกร้อยละ 3 มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดาเท่ากับ 3.17 (S.D. = .25) 4.การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความสามารถในการปฏิบัติ หน้าที่ของบิดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .509, p < .01) 5.ความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดา ผลงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เป็นบิดาได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความเครียดen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดาen_US
dc.titleความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของบิดาen_US
dc.title.alternativeStress, Social Support, and Fathers’ Functional Statusen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.