Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67255
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนพมาศ ศรีเพชรวรรณดีen_US
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorศิวพงษ์ คล่องพานิชen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 117-127en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148052/108993en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67255-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ จำนวน 24 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรี ผู้แทนจากเทศบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำและสมาชิกในชุมชนตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นให้ชุมชนมีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เนื่องจากโรคไข้เลือดออกมีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว และสังคม การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในตำบลออนใต้เกิดจากความร่วมมือระหว่างแกนนำชุมชน พยาบาล นักวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออนใต้และสมาชิกในชุมชน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ จัดตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ วางแผนงาน ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด และสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะเพื่อนำข้อมูล ที่ได้มาวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรค เพื่อหาแนวทางการแก้ไข จนกระทั่งเกิดผลลัพธ์เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลออนใต้ อย่างเป็นรูปธรรม จากผลการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้จำนวนผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลออนใต้ลดลงอย่างชัดเจน ตำบลออนใต้ยังได้รับรางวัลในเรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ผลงานวิจัยการถอดบทเรียนในครั้งนี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของพื้นที่อื่นได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกen_US
dc.titleถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมen_US
dc.title.alternativeLesson Learned from Healthy Public Policy: The Case Study of Control and Prevention of Dengue Hemorrahagic Fever Through Community Participationen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.