Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโมชามเม็ด เจนาป บีกัมen_US
dc.contributor.authorอุษณีย์ จินตะเวชen_US
dc.contributor.authorอัจฉราภรณ์ ศรีภูษณาพรรณen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 122-132en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136210/101657en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67246-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractนมแม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่ามีคุณค่าทางโภชนาการต่อการเจริญเติบโตของเด็กและสร้างภูมิต้านทานของร่างกายการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การควบคุมพฤติกรรมตามการรับรู้และความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ของสตรีตั้งครรภ์แรกในบังคลาเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์แรกจำนวน 120 ราย ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์โคมิลลา ประเทศบังกลาเทศ ระหว่างเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือน พฤษภาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเรื่องทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การควบคุมพฤติกรรมตามการรับรู้ และความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ซึ่งผู้วิจัยใช้เครื่องมือของ เจนเก้ และทำการแปลย้อนกลับ หาความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์แรกร้อยละ 54.17 มีคะแนนทัศนคติด้านบวกต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2.กลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์แรกร้อยละ 81.70 ระบุบุคคลที่ตนเองใส่ใจความคิดเห็นต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้แก่ พยาบาลในโรงพยาบาล ร้อยละ 52.50 ระบุแพทย์ และร้อยละ 50 ระบุพ่อของลูก 2.1กลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์แรกร้อยละ 79.17 มีการควบคุมพฤติกรรมตามการรับรู้ในระดับสูง 2.2กลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์แรกร้อยละ 100 ระบุความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วนนมแม่ 2.3ปัจจัยด้านทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การควบคุมพฤติกรรมตามการรับรู้ไม่สามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเลือกคำตอบความตั้งใจด้วยการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลพื้นฐานว่ากลุ่มตัวอย่างสตรีตั้งครรภ์แรกมีความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ซึ่งควรมีการศึกษาติดตามการริเริ่มการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้ภายหลังคลอดบุตรเพื่อดูว่าความตั้งใจและการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่มีความสัมพันธ์หรือไม่en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่en_US
dc.subjectความตั้งใจen_US
dc.subjectบังกลาเทศen_US
dc.subjectสตรีตั้งครรภ์แรกen_US
dc.titleทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ความตั้งใจต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ของสตรีตั้งครรภ์แรกในบังคลาเทศen_US
dc.title.alternativeAttitudes, Subjective Norms, Perceived Behavioral Control, And Intention Towards Breastfeeding among Bangladeshi Primiparous Pregnant Womenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.