Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67243
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิลัยพร นุชสุธรรมen_US
dc.contributor.authorพัชราวรรรณ แก้วกันทะen_US
dc.contributor.authorลาวัลย์ สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorชมภู่ บุญไทยen_US
dc.contributor.authorสุกัญญา เมืองมาคำen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 110-121en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136174/101629en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67243-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถทางอารมณ์ที่ช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข การสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่นักศึกษาพยาบาลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 ราย และกลุ่มควบคุม 26 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2560 โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สถิติแมนน์-วิทนีย์ ยู และสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์มีค่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์สามารถช่วยทำให้ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับที่สูงขึ้น จึงควรมีการสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนปกติen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์en_US
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.titleผลของโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.title.alternativeEffect of Emotional Quotient Promoting Program on Emotional Quotient among Nursing Studentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.