Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธี เมฆบุญส่งลาภen_US
dc.contributor.authorสาวิตรี นุกูลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 67-83en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/180182/160598en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67212-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปทรง ผังพื้น และการใช้งานพื้นที่ภายในของวิหารในพื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาเชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างวิหารทรงจ้างมูบหรือวิหารที่มีการลดชั้นหลังที่มุขโถงด้านหน้าวิหาร 1 ครั้งของวัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา 24 หลัง และในพื้นที่ในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 19 หลัง การเก็บข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมของวิหารทำโดยการร่างภาพผังพื้น การถ่ายภาพส่วนประกอบต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกวิหาร รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องประวัติศาสตร์การก่อตั้งชุมชนและชาติพันธุ์หลักของชุมชน ประวัติศาสตร์การสร้างหรือซ่อมแซมวิหารและการใช้งานพื้นที่ภายในวิหาร ผลการวิจัยพบว่าวิหารทรงจ้างมูบในจังหวัดพะเยา และพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลีมีความคล้ายกันในรูปทรงของวิหารทรงจ้างมูบที่มีการลดชั้นหลังที่มุขโถงด้านหน้าวิหาร 1 ครั้ง และมีผังพื้นและการใช้งานพื้นที่ภายในวิหารที่แทบไม่ต่างกันเลย ซึ่งลักษณะของวิหารทรงจ้างมูบที่เชื่อมโยงกันนี้ถูกกำหนดด้วยคติความเชื่อและหลักพิธีกรรมที่ใกล้เคียงกันของชาติพันธุ์ไทลื้อและไทยวนซึ่งเป็นประชากรหลักตั้งถิ่นในทั้งสองพื้นที่ นอกจากนั้นชาวไทลื้อและไทยวนในทั้งสองพื้นที่ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและมีการไปมาหาสู่กันเพื่อค้าขายมานานก่อนการกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศเช่นปัจจุบัน ลักษณะของวิหารทรงจ้างมูบซึ่งเชื่อมโยงวัฒนธรรมของทั้งจังหวัดพะเยาและแขวงไซยะบูลีเป็นตัวแทนแสดงถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนานของคนทั้งสองพื้นที่ ซึ่งประเด็นการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือทั้งทางการศึกษาด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคตen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.subjectจ้างมูบen_US
dc.subjectวิหารen_US
dc.subjectวัดen_US
dc.subjectจังหวัดพะเยาen_US
dc.subjectแขวงไชยะบูลีen_US
dc.titleวิหารทรงจ้างมูบในพื้นที่จังหวัดพะเยาและพื้นที่ใกล้เคียงในแขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeChaang-moob vihara in Phayao and nearby area of Xaignabouli province, Lao People’s Democratic Republicen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.