Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67209
Title: คุณสมบัติดัดขวางของพอลิเมทิลเมทาคริเลตที่เสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยแก้วก้านสั้นทางอุตสาหกรรม ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยวิธีต่างๆ
Other Titles: Flexural Properties of Polymethylmethacrylate Reinforced with Various Surface Treatments of Industrial Short-rod Glass Fiber
Authors: ณัฐพล เตชูปกรณ์
สิทธิเดช นิลเจริญ
พิริยะ ยาวิราช
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Authors: ณัฐพล เตชูปกรณ์
สิทธิเดช นิลเจริญ
พิริยะ ยาวิราช
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Keywords: คุณสมบัติดัดขวาง;คลื่นไมโครเวฟ;พีเอ็มเอ็มเอ;เส้นใยแก้วก้านสั้น;สารคู่ควบไซเลน
Issue Date: 2559
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 61-70
Abstract: วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบคุณสมบัติดัดขวางของพีเอ็มเอ็มเอที่เสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยแก้วก้านสั้นทางอุตสาหกรรมที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวแบบต่างๆ วัสดุและวิธีการ: เตรียมแท่งพีเอ็มเอ็มเอขนาด 10 x64 x 3.2 มิลลิเมตร จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ไม่เสริมเส้นใยแก้ว กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้ว ก้านสั้นแบ่งตามการปรับสภาพพื้นผิวคือ ไม่ปรับสภาพพื้นผิว (F) ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลน (S) คลื่นไมโครเวฟ (M) และสารคู่ควบไซเลนร่วมกับคลื่นไมโครเวฟ (MS) แบ่งกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มเป็น 5 กลุ่มย่อยตามปริมาณร้อยละของเส้นใยแก้ว 1 3 5 10 และ 15โดยน้ำหนักตามลำดับ ทดสอบคุณสมบัติดัดขวางแบบโค้งงอจุดสัมผัสสามจุด วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมแฮนที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าความแข็งแรงดัดขวางระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยกลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วปริมาณร้อยละ 1 ที่ปรับพื้นผิวโดยสารคู่ควบไซเลนร่วมกับคลื่นไมโครเวฟให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงที่สุด (93.70 ± 3.11 เมกะปาสคาล) และมอดูลัสดัดขวางสูงขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณเส้นใยแก้วที่มากขึ้น สรุป: การใช้สารคู่ควบไซเลนในการปรับสภาพพื้นผิวของเส้นใยแก้วก่อนการเสริมลงในพีเอ็มเอ็มเอมีความสำคัญในการเพิ่มความแข็งแรงดัดขวาง
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_414.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67209
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.