Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67207
Title: ผลของสารสกัดจากเมล็ดองุ่นต่อความคงทนของแรงยึดติดของเนื้อฟันที่ถูกปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์
Other Titles: Effect of Grape Seed Extract on Bond Durability to Sodium Hypochlorite-treated Dentin
Authors: ภวัต โลเกศเสถียร
สิทธิกร คุณวโรตม์
สุมนา จิตติเดชารักษ์
Authors: ภวัต โลเกศเสถียร
สิทธิกร คุณวโรตม์
สุมนา จิตติเดชารักษ์
Keywords: โซเดียมไฮโปคลอไรท์;ความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค;โปรเเอนโธไซยานิดิน;ความคงทนของแรงยึดติด
Issue Date: 2559
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 49-60
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารละลายโปรเเอนโธไซยานิดินจากสารสกัดจากเมล็ดองุ่นต่อค่าความคงทนของแรงยึดติดระหว่างเรซินคอมโพสิตกับเนื้อฟันที่ถูกปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์เมื่อผ่านการจำลองระยะเวลาด้วยวิธีการเทอร์โมไซคลิง วิธีการวิจัย ใช้ฟันกรามแท้ 48 ซี่ ตัดฟันด้านบดเคี้ยวใต้ต่อรอยต่อเนื้อฟันเคลือบฟัน 1 มม. สุ่มแบ่งเป็น 4 กลุ่มกลุ่มที่ 1 ล้างผิวเนื้อฟันด้วยน้ำกลั่น 10 วินาที กลุ่มที่ 2 ปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 5.25 เป็นเวลา 30 วินาที กลุ่มที่ 3 และ 4 ปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 5.25 เป็นเวลา 30 วินาทีแล้วทาสารละลายโปรแอนโธไซยานิดินความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 15 เป็นเวลา 15 วินาทีตามลำดับ หลังจากนั้นฟันทั้งหมดจะถูกล้างน้ำและเป่าลม ทำการยึดติดด้วยสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ตามคำแนะนำของบริษัท อุดด้วยเรซินคอมโพสิตเคลียร์ฟิลเอพีเอ็กซ์ นำฟันที่อุดแล้วในแต่ละกลุ่มไปเก็บในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นเตรียมชิ้นงานเป็นรูปนาฬิกาทรายมีพื้นที่หน้าตัดในการยึดติดประมาณ 1 ตารางมิลลิเมตร แบ่งการทดสอบแต่ละกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มย่อยตามระยะเวลาคือ กลุ่มที่ 1 ทำการทดสอบทันทีหลังเตรียมชิ้นงานเสร็จ กลุ่มที่ 2 และ 3 จำลองระยะเวลาโดยการใช้วิธีการเทอร์โมไซคลิง 2,500 และ 5,000 รอบตามลำดับ เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดนำชิ้นงานไปทดสอบความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาค ที่ความเร็วหัวกด 1 มม./นาที นำค่าที่ได้ไปทดสอบทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดแทมเฮนย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคระหว่างเรซินคอมโพสิตและเนื้อฟัน ภายหลังจากเก็บชิ้นงานในน้ำกลั่น 24 ชั่วโมงและการจำลองระยะเวลาด้วยเทอร์โมไซคลิง 2,500 รอบ กลุ่มที่ได้รับการปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มที่ได้รับการปรับปรุงผิวเนื้อฟันด้วยสารละลายโปรแอนโธไซยานิดินความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 15 ให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ผ่านการเตรียมผิวเนื้อฟันด้วยสารใดๆ อย่างไรก็ตามเมื่อจำลองระยะเวลาด้วยเทอร์โมไซคลิง 5,000 รอบ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่มทดลอง สรุปผลการศึกษา การใช้สารละลายโปรแอนโธไซยานิดินความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 15 เป็นระยะเวลา 15 วินาทีบนเนื้อฟันที่ได้รับการปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์สามารถปรับปรุงความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคภายหลังจากการยึดติด 24 ชั่วโมง และค่าความคงทนของแรงยึดติดหลังจากการจำลองระยะเวลาด้วยเทอร์-โมไซคลิงจำนวน 2,500 รอบ
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_413.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67207
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.