Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67140
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุชาดา พาณิชกระจ่างen_US
dc.contributor.authorบุญพิชชา จิตต์ภักดีen_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:30Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:30Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ก.ย. 2559), 90-101en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75219/60627en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67140-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการบริการพยาบาล การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลจะช่วยให้ผู้บริหารการพยาบาลสามารถบริหารจัดการองค์การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาล ที่สุชาดา พาณิชกระจ่าง บุญพิชชา จิตต์ภักดี และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของกิลฟอร์ด (Guilford, 1967) และการทบทวนวรรณกรรม และ 2) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลที่สุชาดา พาณิชกระจ่าง บุญพิชชา จิตต์ภักดี และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล ได้ร่วมกันสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าความสามารถในการสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องแคล่วและความคิดละเอียดลอออยู่ในระดับสูง ส่วนด้านความคิดริเริ่มและความคิดยืดหยุ่น อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ อายุและประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน ความท้าทายของงาน การมีทรัพยากรที่เพียงพอ การสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ร่วมงาน และความกดดันจากภาระงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการสร้างสรรค์ของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้พยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีความสามารถในการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์การ Nurses’ creativity is a factor influencing quality of nursing care services. Identifying factors related to nurses’ creativity will help nurse administrators to be able to manage nursing organization more effectively. The purposes of this descriptive correlational research study were to examine the level of creativity and to identify factors related to creativity among nurses in university hospitals. The study sample comprised of 368 nurses working in university hospitals located in the northern region of Thailand. The research instruments consisted of: 1) Perception of Nurse Creativity Questionnaire, developed based on Guilford’s concept (1967) and reviewed literature by Suchada Phanitkrachang, Bunpitcha Chitpakdee, and Petsunee Thungjaroenkul, and 2) Factors Related to Nurses’ Creativity Questionnaire developed based on reviewed literature by Suchada Phanitkrachang, Bunpitcha Chitpakdee,and Petsunee Thungjaroenkul. Data were analyzed by using a computer package program. Statistics used for analysis were organized based on frequency, percentage, mean, standard deviation, and Spearman’s rank-order correlation coefficient.Research results revealed that:1. Creativity among nurses was at a moderate level. When considering each dimension,it was revealed that creativity dimensions of fluency and elaboration were at a high level while dimensions of originality and flexibility were at a moderate level.2. Personal factors of age and work experience were positively related to creativity with the significant level at .01. External person factors of autonomy, challenges of work, sufficient resources, organizational support, work group support and workload pressure were significantly positively related to creativity of nurses at .01 level.Results of this study can be used as the basic information for nursing administrators to enhance creativity among nurses of university hospitals, which can result in improving the quality of nursing care along with positive organizational outcomes.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยภายในบุคคลen_US
dc.subjectปัจจัยภายนอกบุคคลen_US
dc.subjectความสามารถในการสร้างสรรค์en_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.subjectโรงพยาบาลen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างสรรค์ ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Creativity Among Nurses in University Hospitalsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.