Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67127
Title: ขนาดเสาโดยประมาณสำหรับการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงใหม่เพื่อต้านทานแผ่นดินไหว
Other Titles: Approximated Column Size for Residential Building Design in Chiang Mai City to Withstand Earthquakes
Authors: อาลิตา ฉลาดดี
เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา
Authors: อาลิตา ฉลาดดี
เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา
Keywords: ขนาดเสา;อาคารอยู่อาศัยรวม;เชียงใหม่;แผ่นดินไหว;วิธีแรงสถิตเทียบเท่า
Issue Date: 2557
Publisher: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 4, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 34-48
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาว่า สถาปนิกควรต้องมีแนวทางอย่างไร ในการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์หาความต้องการทางโครงสร้างสำหรับอาคารอยู่อาศัยรวมโดยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าเนื่องจากอาคารอยู่อาศัยรวมเกือบร้อยละ 80 ในเมืองเชียงใหม่มีรูปทรงเป็นกล่องสี่เหลี่ยมง่ายๆ และไม่มีลักษณะทางโครงสร้างที่ผิดปกติ โดยทำการศึกษากับอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีความสูง 3-8 ชั้น มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จากการวิเคราะห์พบว่า ในการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวในระดับปานกลางนั้น สถาปนิกควรตระหนักว่าเสาอาคารจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบในพื้นที่ที่ไม่มีแผ่นดินไหว จะทำให้เสามีความแข็งพอที่จะจำกัดการโยกของอาคารได้ในทุกทิศทาง ซึ่งขนาดของเสาที่เหมาะสมนั้น จะช่วยให้วิศวกรออกแบบให้เสาสามารถมีกำลังรับแรงเฉือนและแรงดัดในเสาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผนังรับแรงเฉือนก็ได้ ในกรณีที่เสาถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กเกินไปเท่านั้น ที่จำเป็นต้องใช้ผนังรับแรงเฉือนเข้ามาช่วยการออกแบบให้อาคารพักอาศัยมีเสามีจำนวนมากแต่มีขนาดหน้าตัดค่อนข้างเล็ก จะทำให้จำกัดระยะการโยกของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหวได้ไม่ดีเท่าการออกแบบให้เสามีจำนวนน้อยกว่าแต่มีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่า ดังนั้น ด้วยเหตุที่ห้องพักในอาคารพักอาศัยรวมมักจะมีความกว้างประมาณ 3-4 เมตร สถาปนิกควรวางตำแหน่งของเสาในลักษณะผนังเว้นผนัง หมายความว่า แนวเสาควรห่างกันประมาณ 6-8 เมตร จะทำให้ได้เสาที่ใหญ่พอที่จะจำกัดการโยกตัวของอาคารจากแผ่นดินไหวได้ดี The objective of this research is to find a suggestion for architects how to appropriately design residential buildings in Chiang Mai City to withstand earthquakes. This research project analyzes for structural requirement of residential buildings due to their simple box forms and non-irregular structural systems. The analysis was run on buildings range from 3 to 8 stories with reinforced concrete structures. The study reveals for residential buildings sited in the city of Chiang Mai, architects should design columns slightly larger than columns of those buildings in earthquake-free zone. The columns will pose sufficient stiffness to limit lateral drifting. This will also ease structural engineers to design columns with sufficient strength to resist shear forces and bending moments in those columns without the requirement for shear wall. Only when the column sizes were limited, shear walls would be necessary. When excited by earthquakes, buildings with more columns but smaller in section area will under larger amplitude of swaying comparing with those fewer columns but larger in section area. Therefore, due to the width of each individual residential unit are commonly designed as 3-4 meters, architects should position the columns within every other wall, which means the column spacing should be designed between 6 to 8 meters. This will result in larger column sufficient for limiting the earthquake-induced swaying.
Description: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน
URI: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68321/63017
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67127
ISSN: 2351-0935
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.