Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67123
Title: การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพสื่อวีดีทัศน์บนสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดฟัน สำหรับวัยรุ่น: กรณีศึกษาในนักเรียน 2 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Development and Evaluation of the Efficiency of an Online Social Media Video to Promote Knowledge about Orthodontic Treatment in Adolescents : A Case Study of Students in Two Schools in AmphoeMuang Chiang Mai
Authors: ธนพรรณ วัฒนชัย
ปิยะนารถ จาติเกตุ
ฆฤณ ถนอมกิตติ
ธนพล แสงอาสภวิริยะ
นมิตา หวังซื่อกุล
ประภาสินี ศรีสุคนธมิตร
วาริธร ตั้งตระกูลเจริญ
ศรีธนาพร ศรีสกุลนนท์
Authors: ธนพรรณ วัฒนชัย
ปิยะนารถ จาติเกตุ
ฆฤณ ถนอมกิตติ
ธนพล แสงอาสภวิริยะ
นมิตา หวังซื่อกุล
ประภาสินี ศรีสุคนธมิตร
วาริธร ตั้งตระกูลเจริญ
ศรีธนาพร ศรีสกุลนนท์
Keywords: สื่อสังคมออนไลน์;วัยรุ่น;จัดฟัน;ประสิทธิภาพ;ความพึงพอใจ
Issue Date: 2559
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 135-144
Abstract: วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อวีดีทัศน์บนสังคมออนไลน์สำหรับวัยรุ่น เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดฟันและเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การพัฒนาสื่อ และการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจที่วัยรุ่นมีต่อสื่อวีดีทัศน์บนสังคมออนไลน์ โดยการพัฒนาสื่อนั้นผู้วิจัยเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์ประเภทคลิปวีดีโอ ผ่านช่องทางการสื่อสารคือยูทูป โดยจัดวางเนื้อหาและออกแบบรูปแบบการนำเสนอในลักษณะสื่อแบบตอบโต้กับผู้ใช้ โดย สามารถเลือกเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไปผ่านตัวเลือกในสื่อ หลังจากนั้นนำสื่อไปประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจโดยแบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มวัยรุ่น อายุ 16-18 ปี จำนวน 60 คน โดยทำแบบสอบถาม 2 ชุด คือ 1) แบบประเมินเพื่อวัดประสิทธิภาพ คือแบบประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฟัน มีคะแนนเต็ม 12 คะแนน และแบบประเมินทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดฟัน จำนวน 18 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน โดยวัดก่อนและหลังชมสื่อ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อสื่อซึ่ง มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การดำเนินเรื่อง รายละเอียดของสื่อประโยชน์ของสื่อ และความพึงพอใจโดยภาพรวม โดยแต่ละด้านมีคะแนนเต็ม 5 คะแนน ทั้งนี้ แบบสอบถามและแบบประเมินมีการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านและทดสอบความเข้าใจต่อคำถามในกลุ่มวัยรุ่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างก่อนนำไปใช้จริง วิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ด้วยการทดสอบที ผลการศึกษา: หลังการชมสื่อพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฟันเพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนชมสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และมีคะแนนทัศนคติที่เหมาะ สมเกี่ยวกับการจัดฟันเพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนชมสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) นอกจากนั้นยังพบว่าค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การดำเนินเรื่อง (4.544±0.523) รายละเอียดของสื่อ (4.446±0.471)ประโยชน์ของสื่อ (4.571±0.618) และความพึงพอใจโดยภาพรวม (4.537±0.506) บทสรุป: กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อที่พัฒนาขึ้น และมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีทัศนคติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดฟันเพิ่มขึ้น
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_421.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67123
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.