Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67112
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคณาธิป คำวังen_US
dc.contributor.authorวรทัศน์ อินทรัคคัมพรen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 26,4 (พ.ย. 2553), 155-162en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00112_C00814.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67112-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาระบบการจัดการผลิตลำไยนอกฤดู หาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการผลิตลำไยนอกฤดู กับขนาดของพื้นที่การผลิตลำไยนอกฤดู ตลอดจนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่ผลิตลำไยนอกฤดูจังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มสวนลำไยขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ไร่ จำนวน 58 คน และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มสวนลำไยขนาดใหญ่มีพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ ขึ้นไป จำนวน 65 คน ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มสวนลำไยขนาดเล็ก และเกษตรกรกลุ่มสวนลำไยขนาดใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการผลิตลำไยนอกฤดูในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ ขนาดพื้นที่การเกษตร การได้รับข้อมูลข่าวสาร และความตระหนักผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่การผลิตลำไยนอกฤดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ ราคาต่ำในช่วงฤดูฝน ไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ เกิดภัยแล้ง การถ่ายทอดความรู้เป็นการบรรยายเชิงวิชาการ มากกว่าการปฏิบัติให้เห็นจริง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรสำหรับการผลิตลำไยนอกฤดู ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การผลิตลำไยนอกฤดูให้ทั่วถึงไม่จำกัดเฉพาะกลุ่ม มีการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มการผลิตลำไยนอกฤดูให้มากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องติดตามตรวจสอบการปฏิบัติของเกษตรเป็นประจำและต่อเนื่อง เพื่อแนะนำและเผยแพร่ความรู้ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ และกระตุ้นให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของปัญหาen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectลำไยนอกฤดูen_US
dc.subjectปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตลำไยนอกฤดูen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Off-Season Longan Production of Farmers in Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.