Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67070
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภาณุมาศ ตุ้ยตาจมen_US
dc.contributor.authorสุพรรณิกา ลือชารัศมีen_US
dc.contributor.authorปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 7-40en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/71225/78141en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67070-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractการศึกษานี้ใช้ Eclectic theory เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียนใน 5 ประเทศที่ผลิตยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม โดยใช้ข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2557 เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ โดยใช้แบบจำลอง Dynamic panel data ด้วยวิธี Blundell and Bond (1995) เพื่อประมาณค่าของผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทต่างชาติในการเข้ามาลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัยขนาดของตลาด ความมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรในการผลิต และนโยบายของรัฐบาล จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียนมากที่สุด คือ โครงการรถยนต์คันแรกของไทย การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การเจริญเติบโตของยอดจำหน่าย ยานยนต์ของบริษัทต่างชาติภายในประเทศ และการเจริญเติบโตของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียนมากที่สุด คือ เหตุการณ์อุทกภัยในไทยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราภาษีนิติบุคคล นอกจากนี้ปัจจัยบางตัวส่งผลเชิงบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียนเฉพาะในประยะสั้นเท่านั้น เช่น โครงการรถยนต์คันแรกของไทย ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียนเพิ่มขึ้นทันทีในปีที่เริ่มโครงการ แต่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียนในปีถัดไปลดลง เมื่อประเมินรูปแบบการเจริญเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงที่ทำการศึกษา พบว่า หากประเทศใดมีการเจริญเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูง ในปีถัดไปอัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็จะลดลง ดังนั้นผลการศึกษานี้จึงสามารถอธิบายรูปแบบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียนได้ การศึกษานี้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างชาติในการวางแผนเลือกเข้ามาลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรมยานยนต์ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงเป็นแนวทางให้ภาครัฐสามารถลำดับความสำคัญของนโยบายที่จะนำมาใช้ในการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรมยานยนต์จากผู้ประกอบการยานยนต์ต่างชาติen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยานยนต์en_US
dc.subjectการลงทุนโดยตรงen_US
dc.subjectอาเซียนen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียน -5en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Foreign Direct Investment in Automotive Industry of ASEAN -5en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.