Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67067
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรทัย ณรงค์ชัยen_US
dc.contributor.authorอนุวัฒน์ แสนทวีสุขen_US
dc.contributor.authorคมกริช วงศ์แขen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 75-91en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/72996/59599en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67067-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้บริหารของสถาบันการเงินเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารนํามาซึ่งความได้เปรียบของสถาบันการเงิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ การวัดดัชนีการมีเครือข่ายและศึกษาบทบาทของดัชนีดังกล่าวต่อปริมาณเงินฝากของสถาบันการเงิน โดยใช้ข้อมูลการดํารงตําแหน่งของผู้บริหารและข้อมูลเงินฝากของสถาบันการเงินไทยจํานวน 16 แห่งตั้งแต่ปี 2548 ถึงปี 2557 รวม 124 ตัวอย่าง การวัดดัชนีเครือข่ายใช้การวิเคราะห์เครือข่าย (Network analysis) ด้วยโปรแกรม Ucinet 6.0 พบว่าตลอดช่วงเวลาที่ศึกษาธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์มีค่าความเป็นศูนย์กลาง (Degree centrality) สูงสุด ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความใกล้ชิด (Closeness centrality) และธนาคารไทยพาณิชย์มีความเป็นค่าคั่นกลาง (Betweenness centrality) มากที่สุดส่วนแบบจําลองเงินฝากของสถาบันการเงินแบ่งเป็นด้านอุปสงค์และอุปทาน ด้านอุปสงค์ตัวแปรตามได้แก่ปริมาณเงินฝาก ส่วนด้านอุปทานตัวแปรตาม ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณเงินฝากในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้แก่ เงินปันผลจ่าย หนี้สินของสถาบันการเงิน และประเภทของธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศ 4 แห่งเช่นเดียวกับค่าความเป็นศูนย์กลางประเภทความใกล้ชิด และมีขนาดสูงกว่าค่าความเป็นศูนย์กลาง ส่วนการเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพร์มส่งผลต่อปริมาณเงินฝากในทิศทางตรงข้าม ในส่วนของแบบจําลองทางด้านอุปทานผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อดอกเบี้ยจ่ายในทิศทางเดียวกันได้แก่ ประเภทของธนาคารขาดใหญ่ของประเทศ 4แห่ง เงินปันผลจ่าย หนี้สินของสถาบันการเงิน และเช่นเดียวกับค่าความเป็นศูนย์กลาง ส่วนการเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพร์มและยอดการให้สินเชื่อ ส่งผลต่อดอกเบี้ยจ่ายในทิศทางตรงข้าม เช่นเดียวกับด้านอุปสงค์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การมีเครือข่ายของผู้บริหารส่งผลต่อผลการดําเนินงานของสถาบันการเงินไทย ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความไม่โปร่งใสและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจําเป็นต้องมีมาตรการในการดูแลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเชื่อมโยงของผู้บริหารen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เครือข่ายen_US
dc.subjectสถาบันการเงินen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เครือข่ายในการศึกษาบทบาทของการเชื่อมโยงการบริหารต่อเงินฝากของสถาบันการเงินไทยen_US
dc.title.alternativeAn Application of Network Analysis to Study Role of Administrative Linkages on Thailand Financial Institutes’ Depositen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.