Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67007
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอธยา ใจสว่างen_US
dc.contributor.authorศรัณย์ กิตติศุภกรen_US
dc.contributor.authorพัชราวรรณ ศีลธรรมพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorอรรถวิทย์ พิสิฐอนุสรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 105-116en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_516.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67007-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการวางแผนรากเทียมในโปรแกรมจำลองฝังรากเทียมอาศัยข้อมูลสองส่วนจากภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีและภาพชิ้นหล่อสแกนสามมิติมาซ้อนทับกัน แต่ความคลาดเคลื่อนในการซ้อนทับภาพทั้งสองอาจเกิดขึ้นได้จากการฟุ้งกระเจิงจากสิ่งบูรณะโลหะในภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแม่นยำของภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีและภาพชิ้นหล่อสแกนสามมิติโดยใช้อุปกรณ์ซ้อนทับ โดยมีแบบจำลอง 4 แบบที่มีการสูญเสียฟันและมีสิ่งบูรณะโลหะในตำแหน่งที่แตกต่างกัน แล้วลอกเลียนแบบจำลองนั้นเป็นชิ้นหล่อปูน และมีอุปกรณ์ซ้อนทับ 3 แบบคือแผ่นอะคริลิกรูปตัว U, แผ่นอะคริลิกรูปตัว Y และแผ่นฐานอะคริลิกที่มีลูกปัดติดอยู่ 3 ตำแหน่ง ทำการถ่ายภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีแบบจำลองร่วมกับการใช้และไม่ใช้อุปกรณ์ซ้อนทับ และสแกนสามมิติชิ้นหล่อปูนร่วมกับการใช้และไม่ใช้อุปกรณ์ซ้อนทับดังกล่าว แล้วนำภาพทั้งสองมาซ้อนทับกันในโปรแกรมจำลองฝังรากเทียมและวัดระยะความคลาดเคลื่อนบริเวณจุดอ้างอิง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์หรือดันเนตทีทรีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าเมื่อไม่ใช้อุปกรณ์ซ้อนทับในแบบจำลอง 1 และ 2 มีค่าความคลาดเคลื่อนจากการซ้อนทับน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับแบบจำลอง 3 (0.717 มิลลิเมตร) และแบบจำลอง 4 (1.033 มิลลิเมตร) แต่เมื่อใช้อุปกรณ์ซ้อนทับร่วมด้วยได้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตรในทุกแบบจำลอง ซึ่งความคลาดเคลื่อนจากการซ้อนทับในแบบจำลอง 3 และ 4 เมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ซ้อนทับมีค่าน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับไม่ใช้อุปกรณ์ซ้อนทับ จากการศึกษานี้สรุปว่าการใช้อุปกรณ์ซ้อนทับในแบบจำลอง 3 และ 4 ซึ่งมีการสูญเสียฟันและมีสิ่งบูรณะโลหะจำนวนมากช่วยเพิ่มความแม่นยำในการซ้อนทับภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีและภาพชิ้นหล่อสแกนสามมิติได้ แต่ในแบบจำลอง 1 และ 2 การใช้อุปกรณ์ซ้อนทับช่วยอาจไม่จำเป็นเนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันเล็กน้อยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการซ้อนทับen_US
dc.subjectโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีen_US
dc.subjectชิ้นหล่อสแกนสามมิติen_US
dc.titleความแม่นยำของการซ้อนทับภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีเข้ากับภาพชิ้นหล่อสแกนสามมิติโดยใช้อุปกรณ์ซ้อนทับen_US
dc.title.alternativeThe Accuracy of the CBCT Images Superimposed with 3D Cast Scan Images by Using Matching Devicesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.