Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรัณย์ กิตติศุภกรen_US
dc.contributor.authorเอธยา ใจสว่างen_US
dc.contributor.authorบุญชัย เชาวน์ไกลวงศ์en_US
dc.contributor.authorอรรถวิทย์ พิสิฐอนุสรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:53Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:53Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,1 (ม.ค.-เม.ย. 2562) 31-45en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_1_502.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66928-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractในการฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยนําทางจําเป็นจะต้องใช้ร่วมกับชุดหัวเจาะกระดูกที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ อันมีต้นทุนการผลิตสูงและต้องนําเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งรากเทียมที่ผลิตในประเทศไทยอย่างพีดับบลิว พลัส ยังไม่สามารถฝังด้วยระบบนี้ได้ จึงเป็นที่มาและวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมที่ดัดแปลงหัวเจาะพีดับบลิว พลัส แบบดั้งเดิมให้สามารถใช้ในการฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยนําทาง และวัดความแม่นยําของของการฝังรากเทียมด้วยอุปกรณ์เสริมดังกล่าวในแบบจําลอง โดยการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและกลึงอุปกรณ์เสริมที่ใช้ดัดแปลงหัวเจาะพีดับบลิว พลัสแบบดั้งเดิมให้เป็นหัวเจาะในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยนําทาง ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 5 ชนิด ได้แก่ มาสเตอร์ คีย์ (master key) ไพลอต คีย์ (pilot key) ไฟนอล คีย์ (final key) เอ็กซ์แพนด์ คีย์ (expand key) และ อิมพลานต์ ไดรเวอร์ คีย์ (implant driver key) ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความแม่นยําของการฝังรากเทียมด้วยอุปกรณ์เสริมดังกล่าวในแบบจําลองขากรรไกรบนพลาสติกจํานวน 20 ชิ้น โดยฝังรากเทียมจํานวน 8 รากในแต่ละแบบจําลอง ซึ่งประกอบด้วยรากเทียมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 3.75 4.2 และ 5.0 มิลลิเมตร ยาว 12 มิลลิเมตร จากนั้นตรวจสอบความแม่นยําของการฝังรากเทียมโดยซ่อนทับภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟ์ที่แสดงตําแหน่งของรากเทียมจําลองและตําแหน่งของรากเทียมจริง วัดระยะเบี่ยงเบนของรากเทียมในแนวเส้นตรงเชิงสามมิติบริเวณส่วนหัวและส่วนปลายของรากเทียม รวมทั้งมุมเบี่ยงเบนของรากเทียมเชิงสามมิติ ผลการศึกษาพบว่าระยะเบี่ยงเบนในแนวเส้นตรงเชิงสามมิติที่บริเวณส่วนหัวและส่วนปลายของรากเทียมเท่ากับ 0.83 ± 0.30 และ 1.13 ± 0.36 มิลลิเมตร ตามลําดับ โดยมีมุมเบี่ยงเบนในเชิงสามมิติโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ± 0.49 องศา และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของระยะเบี่ยงเบนในการฝังรากเทียมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกัน (p<0.05) เมื่อพิจารณาเฉพาะข้อผิดพลาดเชิงกลสามารถคํานวณความุมเบี่ยงเบนมากที่สุดทางทฤษฎีตามหลักเรขาคณิตของอุปกรณ์เสริมนี้เท่ากับ 1.04 องศา โดยระยะเบี่ยงเบนในแนวเส้นตรงเชิงสามมิติบริเวณส่วนหัวของรากเทียมจะขึ้นกับระยะห่างของปลอกโลหะกับผิวกระดูกบริเวณที่เจาะรากเทียม และระยะเบี่ยงเบนบริเวณปลายรากเทียมจะขึ้นกับปัจจัยดังกล่าวร่วมกับความยาวของรากเทียมที่ใช้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรากเทียมen_US
dc.subjectการผ่าตัดรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยนําทางen_US
dc.subjectพีดับบลิว พลัสen_US
dc.titleการประดิษฐ์และการตรวจสอบความแม่นยำของอุปกรณ์เสริมในการเปลี่ยนชุดหัวเจาะพีดับบลิว พลัส แบบดั้งเดิมเป็นการฝังรากเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยนำทางen_US
dc.title.alternativeInvention and Accuracy Assessment of Supplemental Surgical Devices for Converting Traditional PW Plus Drilled Set to Computer-guided Implant Surgeryen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.