Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66887
Title: สถานะธาตุอาหารพืชในสวนทุเรียนและลองกองในระบบวนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Plant Nutrient Status of Soil in Durian and Longkong Orchards Under Agroforestry System in Uttaradit Province
Authors: พจนีย์ แสงมณี
อำพรรณ พรมศิริ
ฮิโรโตชิ ทามูระ
Authors: พจนีย์ แสงมณี
อำพรรณ พรมศิริ
ฮิโรโตชิ ทามูระ
Keywords: ทุเรียน;ลองกอง;วนเกษตร;สถานะของธาตุอาหารพืช;สมบัติของดิน;สวนเกษตรกร
Issue Date: 2554
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 27, 2 (มิ.ย. 2554),197-208
Abstract: ในการประเมินสถานะของธาตุอาหารพืชของดินในสวนทุเรียนและลองกองของเกษตรกรพื้นที่ อ.ลับแล และ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นสวนในระบบวนเกษตร ใช้การศึกษาสมบัติของดินเก็บตัวอย่างดินจากสวนทุเรียนจำนวน 37 พื้นที่ และสวนลองกอง จำนวน 28 พื้นที่ ในช่วงเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นระยะพัฒนาช่อดอกของลองกอง และระยะสุดท้ายของการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนตามลำดับ นอกจากนี้ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการดินจากการสัมภาษณ์เกษตรกร วิเคราะห์สมบัติดิน ได้แก่ pH ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และกำมะถันที่สกัดได้ ผลการศึกษาผลผลิตทุเรียนผันแปรตามขนาดรัศมีของทรงพุ่ม คือ ทรงพุ่มขนาด 2 3 และ 4 เมตร ให้ผลผลิต 30-70 50-90 และ 90-120 กิโลกรัม/ต้น ส่วนลองกองซึ่งมีรัศมีทรงพุ่ม 2 และ 3 เมตรให้ผลผลิต 70-80 และ 100-200 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ เกษตรกรใน อ.ลับแล ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีและปูน ส่วนเกษตรกรใน อ.เมือง ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ pH ของดินในสวนทุเรียนและลองกอง ใน อ.ลับแล อยู่ในช่วง 4.2-7.2 ซึ่งเป็นช่วง pH ที่กว้างกว่าดินในสวนไม้ผลของ อ.เมือง (pH 5.0-6.2) ดินในพื้นที่ที่ศึกษาทั้งสองพื้นที่ มีโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ อยู่ในช่วงที่เหมาะสมและสูงกว่าช่วงที่เหมาะสม ในพื้นที่ปลูกทุเรียนของ อ.ลับแล ซึ่งมีอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำ มีประมาณร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่ปลูกทุเรียนของ อ.เมือง ส่วนใหญ่ (67%) มีอินทรียวัตถุอยู่ในช่วงที่เหมาะสม และสูงกว่าช่วงที่เหมาะสม สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ดินส่วนใหญ่จากสวนไม้ผลทั้งสองชนิดและทั้งสองพื้นที่มีอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสม ปริมาณของกำมะถันที่สกัดได้ในดินของทุกพื้นที่มีต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสม และพบสหสัมพันธ์ในเชิงบวกมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกำมะถันที่สกัดได้กับอินทรียวัตถุในดินของสวนทุเรียนและลองกองใน อ.ลับแล
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00113_C00830.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66887
ISSN: 0857-0847
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.