Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐพงษ์ โพธิ์ศรีen_US
dc.contributor.authorรุจ ศิริสัญลักษณ์en_US
dc.contributor.authorบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุลen_US
dc.contributor.authorสุนทร คำยองen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T06:32:23Z-
dc.date.available2019-12-03T06:32:23Z-
dc.date.issued2554en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 27, 2 (มิ.ย. 2554),121-127en_US
dc.identifier.issn0857-0843en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00113_C00822.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66885-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาในเชิงคุณภาพ พบว่า เกษตรกรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยมีความคิดเห็นว่าปัจจุบัน ไฟป่ามีความรุนแรงและส่งผลกระทบมากขึ้น เงื่อนไขและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาไฟป่าในพื้นที่มี 2 ประเด็นหลัก คือ การเข้าไปใช้ประโยชน์ของประชาชนและการขาดความร่วมมือในการจัดการของภาครัฐและชุมชน ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาไฟป่าจะต้องมีการปรับทัศนคติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน และการจัดการสนับสนุนในด้านงบประมาณในการป้องกันไฟป่า ส่วนด้านการรวมกลุ่มและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการไฟป่าพบว่ายังขาดความชัดเจนในการดำเนินการป้องกันปัญหาไฟป่า ผลการศึกษาจากสถิติเชิงพรรณนาพบว่า เกษตรกรเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเกิดปัญหาไฟป่าและหมอกควันทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเงื่อนไขและปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่าเกษตรกรเห็นด้วยว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากการเผาพื้นที่ป่าเพื่อการเก็บหาของป่า ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าเกษตรกรเห็นด้วยอย่างยิ่งในหลายประเด็น เช่น ควรรณรงค์การปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนให้มีความรักและผูกพันกับพื้นที่ป่า และการใช้มาตรการกฎหมายที่รุนแรง ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่พบว่าปัญหาที่สำคัญคือ การจับกุมผู้กระทำผิดทำได้ยากเนื่องจากเส้นทางเข้าป่ามีหลายเส้นทางen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวทางแก้ปัญหาen_US
dc.subjectไฟป่าen_US
dc.subjectอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุยen_US
dc.subjectตำบลดอนแก้วen_US
dc.titleแนวทางการแก้ปัญหาไฟป่าแบบผสมผสานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยของเกษตรกรในตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeIntegrated Approach for Solving Forest Fire Problems in Doi Suthep-Pui National Park Area, of Farmers in Donkeaw Sub-district, Mae Rim District, Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.