Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66855
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จันทนา สุทธิจารี-
dc.contributor.authorสุรกาญจ์ ซาวคำen_US
dc.date.accessioned2019-09-23T03:59:11Z-
dc.date.available2019-09-23T03:59:11Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66855-
dc.description.abstractThe study “Factors Influencing Recidivism of Drug Offenders, Chiang Rai Central Prison Inmate” aimed to (1) investigate the factors influencing recidivism of drug offenders, Chiang Rai Central Prison inmates, and (2) suggest possible guidelines to prevent recidivism of drug offenders, Chiang Rai Central Prison inmates. There were 20 cases in this qualitative research. The data collection methods used were an interview and documentary research. Followings are the findings. 1. The main factors influencing recidivism of drug offenders, Chiang Rai Central Prison Inmate included: 1.1. In terms of personal factors, it was found that the recidivists were between 26 and 57 years old. The majority had basic education and were general contractors and farmers. 1.2. The highest number of repeated offences was more than five times and the lowest was twice. The offences were drug abuses and drug dealings. 1.3. It was found that psychology had relationships with the recidivism in three different ways including: (1) In terms of perception, the majority were aware of the consequences of breaking the laws as they had always planned before they committed the crime. They believed that the penalty was not severe as they would be in the prison for a short period of time or they would be on bail. (2) In terms of religion, they followed religion teaching but did not adhere to religion. (3) In terms of social conventions, they were branded by the society as lowly and the majority were poor. 1.4 Societal factors included : (1) In terms of family, they were from big families and the family members did not have mutual understanding. (2) In terms of economics, they had low income which was not sufficient for everyday use. (3) In term of society, the drug offenders had networks in drug dealing. 1.5 Environmental factors were : (1) In the prison, there were networks among inmates to help each other. They also respected each other as brothers. In addition, there were job trainings and health assistance for the inmates. Their well-beings were taken care of. There were also allowed visitors. (2) In terms of behaviors of the recidivism of drug offenders, Chiang Rai Central Prison inmates, it was found that there were four steps: expanding drug networks in the prison, creating drug networks, surveying drug dealing areas, and dealing drugs and re-imprisoned. 2. For possible guidelines to prevent recidivism of drug offenders, Chiang Rai Central Prison Inmate, it was found that: 1) In terms of family, family members should be aware of each other’s feelings and listen to each other’s problems. 2) In terms economics, jobs should be allocated for each inmate according to their expertise. There should be only the continued behavior control. 3) In terms of society and environment, the community leaders should organize campaigns to fight against drugs. There should also be social organization to control, take care, and punish the offenders and the collaborators. 4) In terms of law, the penalty should be more severe, especially, for the recidivists. Furthermore, the penalty should be broadcasted and a government sector to stop corruption should be established.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำen_US
dc.subjectผู้ต้องขังคดียาเสพติดen_US
dc.subjectเรือนจำen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดเรือนจำกลางจังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Recidivism of Drug Offenders, Chiang Rai Central Prison Inmateen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc364.3-
thailis.controlvocab.thashการกระทำผิดซ้ำ-
thailis.controlvocab.thashนักโทษ -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashเรือนจำ -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashยาเสพติด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
thailis.manuscript.sourceว/ภน 364.3 ส471ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดเรือนจำจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางเชียงราย (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำกลางเชียงราย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 ตัวอย่าง รวมทั้งศึกษาจากเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย พบว่า 1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้กระทำความผิดซ้ำ มีอายุระหว่าง 26-57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และอาชีพเกษตรกร 1.2 ปัจจัยจำนวนครั้งที่กระทำความผิดและฐานกระทำความผิด พบว่า ผู้ต้องขังคดียาเสพติด มีจำนวนการกระทำผิดสูงสุดคือ มากกว่า 5 ครั้ง และพบน้อยที่สุด คือจำนวน 2 ครั้ง อยู่ฐานความผิดเสพและครอบครองเพื่อจำหน่าย 1.3 ปัจจัยทางจิตวิทยา พบว่า มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ 3 ด้าน คือ 1) การรับรู้ผลของการทำผิดทางกฎหมายของ ส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ถึงผลของการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีการวางแผนการกระทำความผิดก่อนเสมอ และคิดว่าการลงโทษไม่รุนแรง ติดคุกไม่นานก็ต้องถูกปล่อยตัวหรือมีการประกันตัว 2) วิถีชีวิตทางศาสนา มีการปฏิบัติตนตามแนวทางศาสนา แต่ไม่ได้ยึดติดกับศาสนา 3) กฎเกณฑ์ทางสังคม คือ ถูกสังคมตีตราถึงความต้อยต่ำ และด้านฐานะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 1.4 ปัจจัยทางสังคม ประกอบด้วย 1) ด้านครอบครัว ส่วนใหญ่มีครอบครัวขนาดใหญ่ มีสมาชิกอยู่ด้วยกันหลายคน และมีปัญหาไม่มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน 2) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 3) ด้านสังคม พบว่า กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะมีการซื้อขายยาเสพติดลักษณะเครือข่าย 1.5 ปัจจัยแวดล้อมผู้กระทำผิดภายในเรือนจำ 1) ด้านสังคมสภาพแวดล้อมในเรือนจำ พบว่า มีการสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นเครือข่ายช่วยเหลือกัน นับถือแบบพี่น้อง มีการฝึกวิชาชีพ มีสถานพยาบาลดูแลเมื่อเจ็บป่วย มีการดูแลเรื่องการกินอยู่หลับนอน และมีการให้เข้าพบหรือเยี่ยมผู้กระทำผิด 2) ด้านพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดซ้ำคดียาเสพติดในเรือนจำกลางเชียงราย พบว่ามีพฤติกรรมกระทำผิดคดียาเสพติด 4 ขั้นตอน คือการขยายเครือข่ายยาเสพติดในเรือนจำ ,การสร้างเครือข่ายยาเสพติด,การสำรวจแหล่งขายยาเสพติด,การขายยาเสพติดกับการติดคุกซ้ำ 2. แนวทางแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงราย พบว่า 1) ด้านครอบครัว คำนึงถึงความรู้สึกของแต่ละคน รับฟังปัญหาของทุกคน 2) ด้านเศรษฐกิจ จัดหาแหล่งงานตามความชำนาญของแต่ละคน เพียงแต่มีการควบคุมและกำกับดูแลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านสังคมสภาพแวดล้อม ผู้นำชุมชนควรจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด มีการจัดระเบียบทางสังคม ในการควบคุม กำกับ ดูแล และลงโทษผู้กระทำผิดและผู้มีส่วนรู้เห็น 4) ด้านกฎหมาย พบว่า ควรมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้น โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ รวมทั้งมีการเผยแพร่โทษทางเครื่องมือสื่อสารต่างๆ และจัดตั้งหน่วยงานของรัฐเข้ามาปราบปรามเจ้าหน้าที่ที่ทำงานทุจริตen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.