Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66537
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมหมาย ชินนาคen_US
dc.contributor.authorกาญจนา ชินนาคen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 31, 1 (ม.ค.-มิ.ย 2562), 46-79en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/171243/139386en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66537-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาว่า ภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ใช้ช้างเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวนั้น สัมพันธ์กับเครือข่ายควาญช้างข้ามพื้นที่/ข้ามวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง โดยอาศัยข้อมูลเชิงสำรวจจากโครงการวิจัยเรื่อง Socio-economic profile of Thai mahouts in Thai tourism industry กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ควาญช้างสัญชาติพม่าและเครือข่ายควาญช้างชาวกวยในปางช้างจังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่มาพร้อมกับภาวะความเป็นสมัยใหม่นั้น ได้ก่อให้เกิดเครือข่ายควาญช้างแบบใหม่ที่แตกต่างจากเครือข่ายควาญช้างยุคจารีต กล่าวคือในยุคจารีต เครือข่ายควาญช้างจะเป็นเครือข่ายควาญช้างระดับท้องถิ่น และเป็นเครือข่ายแบบปิดที่จำกัดอยู่ภายในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสายตระกูลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ หากแต่เครือข่ายควาญช้างรุ่นใหม่หรือหลังยุคจารีตนั้นจะเป็นเครือข่ายแบบเปิดที่ไม่จำกัดอยู่เพียงระดับท้องถิ่น ภายในกลุ่มสายตระกูลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ หากแต่เป็นเครือข่ายข้ามพื้นที่/ข้ามวัฒนธรรม เพราะเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มควาญช้างที่เป็นแรงงานต่างชาติด้วย ขณะที่กลุ่มควาญช้างรุ่นใหม่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เป็นควาญช้างแบบจารีต ก็กลายเป็นกลุ่มคนที่ต้องอพยพมีชีวิตเร่ร่อนแบบสมัยใหม่ โดยการละทิ้งถิ่นฐานไปตามเส้นทางของธุรกิจปางช้างทั้งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญเพื่อการเลี้ยงชีพ พร้อมๆ กับเป็นผู้ธำรงอัตลักษณ์ความเป็นคนเลี้ยงช้างen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเครือข่ายควาญช้างข้ามพื้นที่/ข้ามวัฒนธรรมen_US
dc.subjectควาญช้างชาวพม่าen_US
dc.subjectควาญช้างชาวกวยen_US
dc.subjectชลบุรีen_US
dc.titleการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับควาญช้างข้ามพื้นที่/วัฒนธรรมภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยen_US
dc.title.alternativeTrans-space/cultural Network of the Mahouts under the Thailand’s Tourism Industry Contexten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.