Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประสิทธิ์ ลีปรีชาen_US
dc.contributor.authorสงกรานต์ จันต๊ะคาดen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30, 2 (ก.ค.-ธ.ค 2561), 99-135en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/163987/118804en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66529-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractบทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้าชายแดน ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของความมั่นคงของชาติ กับความมั่นคงของมนุษย์บนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาวตอนบน ด้วยการศึกษาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนบ้านฮวก อําเภอภูซาง และพื้นที่เชื่อมโยง จังหวัดพะเยา จากการทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องการลงพื้นที่ภาคสนามแล้วสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักและการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม พบว่าหลังสงครามเย็น นโยบาย เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้ากลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุมน้ำโขง ซึ่งได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของพื้นที่ชายแดนจากไฟสงครามเป็นใจกลางชายแดน (border heartland)กรณีการค้าชายแดนที่จุดผ่อนปรนชายแดนบ้านฮวก ซึ่งกําลังมีการผลักดันเพื่อยกระดับให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรในปลายปี 2561 นับว่าเป็นรูปธรรมของการปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคงของชาติจากความมั่นคงทางการทหารไปสู่ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ กระนั้นก็ตาม จากการศึกษาภาคสนามระหว่างเดือนกันยายน 2560 ถึงพฤษภาคม 2561 พบว่านโยบายส่งเสริมการค้าในพื้นที่ชายแดนนี้ ได้นําพากลไกของรัฐ ระเบียบ กฎเกณฑ์ เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นการเสริมอํานาจในการทํางานของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อควบคุมผู้คนในพื้นที่ชายแดนและเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนจากต่างถิ่นมากกว่าต่อชาวบ้านในพื้นที่ที่เป็นเพียงกลุ่มคนระดับรากหญ้าและกลุมชาติพันธุ์ ผู้เขียนนำเสนอให้เห็นถึงความย้อนแย้งที่ว่า ยิ่งรัฐเน้นความมั่นคง ของชาติผ่านการส่งเสริมการค้าในบริเวณพื้นที่ชายแดน กลับยิ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในชีวิตของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการค้าen_US
dc.subjectความมั่นคงของชาติen_US
dc.subjectความมั่นคงในชีวิตมนุษย์en_US
dc.subjectพื้นที่ชายแดนen_US
dc.subjectบ้านฮวกen_US
dc.titleการค้าชายแดนกับความ(ไม่)มั่นคงในชีวิตมนุษย์พื้นที่ชายแดนบ้านฮวกen_US
dc.title.alternativeTrading and Human (In)Security in Border Area of Ban Huaken_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.