Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66528
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนกวรรณ มะโนรมย์en_US
dc.contributor.authorจุฑาทิพย์ วิเศษศิลป์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 30, 1 (ม.ค.-มิ.ย 2561), 65-100en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/163994/118809en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66528-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractบทความนี้อภิปราย ผู้ผลิตรายย่อย (Smallholders) ในมิติสังคมวิทยาโดยใช้ข้อมูลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนพื้นบ้านทุกครัวเรือนในพื้นที่ศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเด็นนำเสนอสำคัญประการแรกคือ ข้อถกเถียงว่าขนาดของที่ดินไม่ใช่ข้อกำหนดการเป็นผู้ผลิตรายย่อย เนื่องจากผู้ผลิตรายย่อยมีกิจกรรมการผลิตที่หลากหลายในที่ดินของครัวเรือนที่มีมากกว่าที่ดิน 2 เฮกตาร์ (12 ไร่ 2 งาน) ซึ่งมิได้เป็นไปตามคำนิยามของธนาคารโลกที่กำหนดว่าผู้ผลิตรายย่อยคือกลุ่ม คนที่ใช้ที่ดินต่ำกว่า 2 เฮกตาร์ ในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร การใช้ขนาด การใช้ที่ดินในการกำหนดการเป็นผู้ผลิตรายย่อยไม่สอดคล้องกับบริบทสังคมภาคเกษตรปัจจุบันที่ได้ก้าวสู่เศรษฐกิจแบบตลาดอย่างเต็มตัว และเงื่อนไขและระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม ดังที่ผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนใช้ที่ดินของตัวเองมากกว่า12 ไร่ในการผลิตที่หลากหลายรวมทั้งการผลิตน้ำอ้อยก้อน ประการที่สอง ผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนมีลักษณะเป็นผู้ผลิตรายย่อยผู้มีความรู้ ทักษะ ความประณีตและเป็นแรงงานฝีมือ ซึ่งสะท้อนนิยามความหมายของผู้ผลิตรายย่อยของ Peluso (2017) ที่กล่าวว่า กิจกรรมการผลิตของผู้ผลิตรายย่อยสามารถครอบคลุมถึงการผลิตอื่นที่มิใช่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ หากรวมถึงงานฝีมือและหัตถกรรมพื้นถิ่นอีกด้วย ประการที่สาม ผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนมิได้ผลิตเพื่อการยังชีพแต่เน้นผลิต เพื่อตลาดเป็นหลัก เน้นการใช้แรงงานของครัวเรือนอย่างเข้มข้น จะจ้างแรงงาน เพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อต้องการผลิตป้อนตลาดจำนวนมากและมีตลาดไม่จำกัด ประการสุดท้าย ผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนยังมีลักษณะบางอย่างเหมือนผู้ประกอบการ นั่นคือมีความสามารถในจัดการทุน การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และกำหนดราคาขายน้ำอ้อยก้อนด้วยตัวเอง อีกทั้งยังทำหน้าที่ของการเป็นหน่วยการบริโภค และยังคงผูกพันใกล้ชิดระหว่างสมาชิกครัวเรือนและชุมชนในมิติสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ผลิตรายย่อยen_US
dc.subjectน้ำอ้อยก้อนพื้นบ้านen_US
dc.titleผู้ผลิตรายย่อย บทวิเคราะห์เชิงสังคมวิทยา กรณีศึกษาผู้ผลิตน้ำอ้อยก้อนพื้นบ้านจังหวัดกาฬสินธุ์en_US
dc.title.alternativeSmallholders Sociological Analysis: A Case study of sugarcane farmers in Kalasin Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.